Tuesday, April 6, 2010

โครงสร้างการจัดทำ Dissertation /Thesis Roadmap

เป้าหมายของทุกคนในการเข้ามาสู่การศึกษาระดับการจัดการดุษฎีบัณฑิต คือภายใน 3 ปีจะต้องก้าวออกไปจากรั้ว "ม.ราชภัฎสวนดุสิต" พร้อมปริญญา Doctor of Management -Major Business Management

จากวันแรกในเดือน พค.47 จนถึง กย. 47
ผมคิดว่า เราได้มีการพุดคุยอย่างไม่เป็นทางการในเรื่อง Dissertation จนกระทั่งมีรูปแบบที่เป็นทางการมาพอประมาณ(แม้ว่าเพื่อน DM2/2 บางท่านยังมีความกังวลอยู่)

ในวันที่ 11 กย 47 เราได้มีการสรุปในกลุ่มถึง ประเด็นการศึกษา/ความสนใจในการจัดทำ Dissertation Roadmap ที่ลงตัวมากที่สุด
โดยโครงสร้างการจัดทำ Dissertation Roadmap ในกลุ่มน่าจะเป็นดังนี้

1.กลุ่มความสนใจด้าน HR/Knowledge Organization
Areas: Human Resource
Human Capital
Knowledge Capital
Intellectual Capital
Career Development +OD
HRD
HR Scorecard
2.กลุ่ทความสนใจด้าน Marketing
Areas: Mkt Strategy
Mkt Mixed
Brand Building
Products Strategy & Development
Below the line Mkt
Distribution Channel
CRM / IMC /TIM
PR & ADs
Mkt Research
3.กลุ่มความสนใจด้าน A/C -F/N
Areas: 3D Bugeting
ABC
EVA
ROI
Venture Capital
Financial Engineering
Risk Mgt
4.กลุ่มความสนใจด้าน การจัดการ & ธุรกิจ
Areas: Competitiveness of Nation /Business
Theory of Innovation
Business Strategy-BSC / Blue Ocean
Change Management
Process Control
Productivity
e-Business
Core Competency

สิ่งที่เราจะเดินต่อไปเมื่อรู้ว่ามีกลุ่มความสนใจแล้วคือการเตรียมตัวเตรียมใจในอนาคตที่จะมาถึงคือ

Step 1:เลือก Area ที่จะเข้าไปศึกษา

วิธีการเลือก
1) เป็นเรื่องที่เราสนใจมาก ๆ และเชื่อว่าเราจะ "Go Ahead" ได้ตลอด 3 ปี
2)เป็นสิ่ง/เรื่อง หรือ ขอบเขตที่เรามีพื้นฐานในด้านต่อไปนี้ เช่น
-การทำงาน/ธุรกิจ
-การศึกษาทั้ง ป.ตรี ป.โท
3)พอจะรู้ แหล่งข้อมูล หรือ ใครเชี่ยวชาญ

Step 2: เมื่อได้ Area แล้วจงลงลึก " In Depth" ในเรื่องนั้น

วิธีการที่จะลงลึก
1) บทความประจำภาคเรียนให้เขียนลงในเรื่องที่สนใจ
2)พยายามอ่าน/เขียนโดยศึกษาจาก
-Theory
-Research/Dissertation
3)เราจะพบเรื่องที่จะทำวิจัยได้ไม่ยากนัก

Step 3 : "All for One , One for All "
ผมเชื่อว่าทุกคนไม่อยากบอกว่าตนเองทำเรื่องอะไร
เพราะกลัวถูกแย่งชิงหัวข้อ Dissertation

ความจริง !!!
1) ถ้าเราคิดว่า เราเป็นเพื่อนกันจริงขอให้ยึดหลักข้างตน การร่วมกันศึกษาจะประหยัดเวลา ยกเว้นว่าคนละเรื่องกันจริง ๆ
2) การที่ใครบอกว่าจะทำเรื่องอะไรเท่ากับลงทะเบียนในความคิดของทุกคนแล้ว
3) การแลกเปลี่ยนเรื่องที่จะทำจะมีประโยชน์ดังนี้

@ เพื่อน ๆ ที่คิดจะทำเรื่องเดียวกันจะได้คุยกันว่าซ้ำหรือไม่ จะได้ไม่เสียเวลา
@ ความสนใจจริง ๆ ที่แท้แล้วเป็นลักษณะ " Breadth" ถ้ายังไม่มีการศึกษาอย่างเป็นระบบ
@ องค์ความรู้ทั้ง 4 กลุ่มที่เราจะพิจารณามีขอบเขตมากพอสำหรับทุกคนครับ

There are many areas of Dissertation:
-Theoretical areas
-Methodology & Content areas
-Practical areas

ดังนั้น อย่าไปกลัวเลยครับว่าเรื่องจะซ้ำกัน หรือ บอกเพื่อนไม่ได้

Step 4 : บูรณาการความคิด
จงจำไว้ว่า ต้องเป็นเรื่องที่ท่านสนใจอยากทำ (สนใจคือมีพื้นฐานทางความรู้ หรือ ประสบการณ์ )
ไม่ใช่เรื่องที่คนอื่นอยากทำโดยให้ท่านทำ แม้จะเป็นไปได้แต่ท่านต้องสนใจจริง ๆ

เมื่อก้าวเข้ามาแล้วต้องมุ่งมั่นที่จะก้าวเดินต่อไป
เขียนบทความในทิศทางของ Dissertation เท่านั้นครับ อย่าวอกแวก !!!
ท้อได้ แต่อย่าหมดกำลังใจ ครับบบบบบบบบบบบบ

เมื่อใดที่ท่านหมดกำลังใจ ขอให้นึกว่ายังมีผมอยู่อีกคนที่คอยช่วย และให้กำลังใจกับทุกท่าน แต่สุดท้าย "Dissertation" ท่านเท่านั้นละครับที่จะเป็นผู้เขียนความรู้ใหม่ใน "Business Management"

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants
 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2550

No comments:

Post a Comment