การวิจัยทางธุรกิจตามรูปที่ 3 จะเริ่มต้นจากโจทย์หรือปัญหาด้านการจัดการหรือ
ธุรกิจแล้วนำไปสู่การนิยามคำถามการจัดการ หลังจากนั้นจึงเป็นคำถามการวิจัยที่นักวิจัยมุ่งแสวงหาคำตอบ จากคำถามการวิจัยจึงนำไปสู่วัตถุประสงค์ของการวิจัย และคาดคะเนคำตอบที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย ซึ่งหมายถึงสมมติฐานของการวิจัย ถ้าสมมติฐานเป็นจริงขั้นตอนต่อมาคือ การออกแบบการวิจัยซึ่งประกอบด้วยการคัดเลือกหรือกำหนดวิธีวิทยาการวิจัยที่เหมาะสม การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง การออกแบบการวัดตัวแปร และการออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งมีทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ ความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูลจึงนำไปสู่การตอบปัญหาวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับข้อความรู้หรือผลวิจัย
การวิจัยทางธุรกิจจำเป็นต้องอาศัยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในทุกขั้นตอน ดังนั้นความรู้จากการวิจัยที่ได้รับจะเป็นข้อความรู้เฉพาะกฏ หรือทฤษฎี ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจทางการจัดการ และนำไปสู่เป้าหมายระยะยาวของการวิจัยทางธุรกิจคือ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ การเป็นองค์การแห่งความรู้ (Knowledge-Based Organization) และทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีขึ้นกว่าเดิม ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนในศาสตร์ด้านการจัดการธุรกิจ
1.วิสัยทัศน์การวิจัย
คำว่า วิสัยทัศน์ (Vision) จะหมายถึง ภาพอนาคตหรือทิศทางในอนาคตที่ต้อง การจะไปให้ถึง ส่วนการวิจัย (Research) เป็นกระบวนการที่ใช้เหตุผลแสวงหาข้อเท็จจริงหรือกฏเกณฑ์ของธรรมชาติหรือการสร้างองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่มีแบบแผนเป็นระบบเชื่อถือได้
ดังนั้น วิสัยทัศน์การวิจัยจึงเป็นเรื่องของอนาคตหรือทิศทางในอนาคตของการวิจัยหรือเป้าหมายในระยะยาวของการวิจัย ซึ่งในรูปที่ 3 ได้ให้ภาพอนาคตของการวิจัยด้านการจัดการธุรกิจไว้เป็นตัวอย่างหนึ่งตัวอย่างด้วยแล้ว
2.วิสัยทัศน์การวิจัยด้านการจัดการธุรกิจ
วิทยาการที่จะเป็นศาสตร์แห่งวิชาชีพ หรือศาสตร์ด้านการจัดการธุรกิจ จะต้องมีองค์ประกอบหลักคือ องค์ความรู้ (Body of Knowledge) ศัพท์เฉพาะศาสตร์ (Terminology)และวิธีการแสวงหาความรู้ (Modes of Inquiry)
การจัดการธุรกิจมีความเป็นศาสตร์อย่างสมบูรณ์ เพราะมีองค์ประกอบข้างต้นครบถ้วน อาทิ
ศัพท์เฉพาะศาสตร์ เช่น วัตถุประสงค์ (Objective) การวางแผน (Planning) กลยุทธ (Strategy) สายบังคับบัญชา (Line of Command) การประเมินผลงาน (Performance Appraisal)
องค์ความรู้ทางการจัดการ เช่น การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Managing Change) การจัดการกลยุทธ (Strategic Management) ทฤษฎีการจัดการ (The Theory of Management) ทฤษฎีเอ็กซ์และทฤษฎีวาย (Theory X and Theory Y)
วิธีการแสวงหาความรู้ หมายถึง วิธีวิทยาการจัดการซึ่งเป็นกระบวนการศึกษา การบรรยาย การอธิบาย และการให้ความกระจ่างชัดของแต่ละเทคนิควิธีการจัดการ ตลอดจนการให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบุกเบิกองค์ความรู้ใหม่ทางด้านเทคนิควิธีการจัดการ
วิสัยทัศน์การวิจัยด้านการจัดการธุรกิจ จึงต้องมุ่งวิจัยเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการจัดการธุรกิจขึ้นมาตอบสนองต่อสังคมไทยได้ เพราะพฤติกรรมหรือวัฒนธรรมในสังคมไทยไม่สามารถอิงองค์ความรู้จากสังคมอื่นมาอ้างอิงหรือใช้สอยได้อย่างสมบูรณ์ สิ่งนี้ก็คือความสามารถในการสร้างความเป็นไททางวิชาการจัดการธุรกิจให้มีขึ้นในสังคมไทย
3.วิสัยทัศน์การวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการธุรกิจ
วิสัยทัศน์การวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการธุรกิจจึงเป็นการวิจัยผลิตความรู้เพื่อสร้าง
ความก้าวหน้าใน 3 ทิศทางด้วยกันคือ
3.1 วิจัยเพื่อให้สามารถนำความรู้มาถ่ายทอดโดยผ่านกระบวนการวิจัย อาจ
จะมุ่งไปที่ศาสตร์สากล (ศาสตร์ หมายถึง ระเบียบวิธีวิเคราะห์ที่เป็นระบบ เป็นเหตุเป็นผลและเป็นปรนัยที่จะบรรยาย อธิบาย และทำนายปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตได้) เพื่อสร้างพื้นฐานให้สามารถติดตามความก้าวหน้าทางการจัดการธุรกิจได้ และทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ทางการจัดการธุรกิจที่เป็นพื้นฐานตามความสนใจส่วนบุคคลหรือองค์กร ซึ่งเป็นการสร้างความพร้อมเพื่ออนาคต
3.2 การวิจัยที่มุ่งผลิตความรู้เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาธุรกิจ หมายถึงการวิจัยที่มุ่งศาสตร์เฉพาะกรณีโดยยึดปัญหาเป็นหลัก ข้อความรู้ที่ได้จะเป็นเรื่องของธุรกิจในประเทศไทยการวิจัยในทิศทางนี้ อาจต้องทำในลักษณะสหวิทยาการ (Multidisciplinary/
Interdisciplinary Research) เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาเดียวกัน
ผลการวิจัยในทิศทางนี้จะได้ความรู้ที่อาจเห็นผลในทางประยุกต์ได้ในระยะเวลาอันสั้น อีกทั้งยังเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับประเทศไทยโดยเฉพาะ
3.3 การวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นการวิจัยอีกระดับหนึ่งที่ไม่เพียงแต่ติดตามความก้าวหน้าของวิทยาการเท่านั้น แต่ยังหวังการก้าวกระโดดที่ล้ำหน้าในด้านนี้ที่ยังไม่มีใครทำอยู่และหากไม่มีการคิดวิจัยในทิศทางนี้ อนาคตก็ไม่มีทางที่จะก้าวทันวิทยาการสากลได้ดังกรณีตัวอย่างที่ยกมาทั้ง 3 ตัวอย่างข้างต้น
โดยสรุปบทความเรื่องวิสัยทัศน์การวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการธุรกิจ เป็นมโนทัศน์ของการใช้การวิจัยเพื่อมองคำตอบในอนาคตเกี่ยวกับ วิธีวิทยาการด้านการจัดการธุรกิจ (Business Management Methodology) และเนื้อหาด้านการจัดการ (The Contents of Business Management) ซึ่งยังมีรายละเอียดในทั้ง 2 เรื่องที่กล่าวมานี้อีกมาก และจะมีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีการจัดการธุรกิจ (The Theory of Business Management) ในอนาคตที่สอดคล้องกับสังคมไทย
เอกสารอ้างอิง
จรัส สุวรรณเวลา. (2532) "แผนภาพที่ 1 การวิจัยคือ อะไร" ในสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ การสอนแบบ
Research Based Learning. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 6(1) 4.
ดนัย เทียนพุฒ. (2542). "วิสัยทัศน์งานวิจัยเพื่ออนาคตของประเทศ". Chulalongkorn Review.
12 (45) ต.ค.-ธ.ค. 9-20.
ดนัย เทียนพุฒ. (2546). ธุรกิจของ HR (2): พลวัตการบริหารคน. กรุงเทพมหานคร : โครงการ Human Capital.
ธีระ อาชวเมธี. (2521). ปรัชญาจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร : ชวนพิมพ์
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2537) ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2523). "สมมติฐานในการวิจัย". ใน เอกสารประกอบการศึกษาหลักสูตร
ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ รุ่นที่ 1 วันที่ 15-19 เมษายน 2523 สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อัดสำเนา).
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2540). "การประเมินผลการปฏิบัติงานวิจัย". วารสารวิธีวิทยาการวิจัย.
10 (2) ก.ค.-ธ.ค. 2-18.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2541). วิธีวิทยาการประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cloke, K. and Goldsmith, J. (2002). The End of Management. NY : John Wiley and Sons
Cooper, D.R. and Schindler, P.S. (2003). Business Research Methods. Eighth Edition.
Singapore : McGraw-Hill/Irwin.
Crainer, S. (1996). Key Management Ideas. London : Pitman Publishing.
Creswell, J.W. (2003). Research Design. Second Edition, California : Sage .
Drucker, P.F. (1998). Peter Drucker on the Profession of Management. MA : Harvard
Business School .
Drucker, P.F. (1999). Management Challenges for the 21st Century. NY : Harper Collins.
Hornby, A.S., Gatenby E.V. and Wakefield H. (1963). The Advanced Learner's
Dictionary of Current English. Second Edition. London : Oxford University.
Kaplan, R.S. and Norton, D.P. (1992). "The Balanced Scorecard-Measures That Drive
Performance". Harvard Business Review. Jan-Feb.
Kaplan, R.S. and Norton, D.P. (1993). "Putting The Balanced Scorecard to Work"
Harvard Business Review. Sep-Oct.
Kaplan, R.S. and Norton, D.P. (1996). The Balanced Scorecard : Translating Strategy
into Action. Boston : Harvard Business School.
Kaplan, R.S. and Norton, D.P. (2001). The Strategy-Focused Organization : How
Balanced Scorecard Companies Thrive in the New Business Environment.
Boston : Harvard Business School.
Kaplan, R.S. and Norton, D.P. (2004). Strategy Maps. Bonton : Harvard Business
School.
Kennedy, C. (1991). Guide to the Management Gurus. London : Business Books.
Kerlinger, F.N. (1986). Foundations of Behavioral Research. Third Edition. Florida :
Harcourt Brace Jovanovich College.
อ.ดนัย เทียนพุฒ
Aj.Danai Thieanphut
DNT Consultants
Create Date : 15 มิถุนายน 2549
No comments:
Post a Comment