Tuesday, April 6, 2010

ผลสรุปรายงานการวิจัย ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา

รายงานวิจัยเรื่อง
ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัทผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง
A Strategic Intellectual Capital Model for Thai Enterprises :
A Study of Construction Accessories Company
โดย
ดร. ดนัย เทียนพุฒ
DR. DANAI THIEANPHUT

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนาตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา ที่จะใช้เป็นสิ่งอธิบายความได้เปรียบในการแข่งขันที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมการบริหารของธุรกิจไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงกรณีศึกษา ธุรกิจไทยที่ผลิตและจำหน่ายกระเบื้องยางปูพื้นขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย มีบริษัทผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง เป็นกรณีในการศึกษากรณีได้สร้างและพัฒนาตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญารูปแบบเพื่อการทำนายที่ได้มาจากการสังเคราะห์วิสัยทัศน์ ภารกิจของบริษัทฯ ตามแนวทางของ Heng และเก็บรวบรวมข้อมูลกรณีเพื่อสร้างรูปแบบเชิงประจักษ์โดยการออกแบบโปรโตคอล และความเป็นไตรวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูลและมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 26 คน
วิธีการวิจัยได้ดำเนินการพัฒนาตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาจากการเปรียบ-เทียบระหว่างรูปแบบเพื่อการทำนายกับรูปแบบเชิงประจักษ์โดยการสังเคราะห์หาลักษณะร่วมขององค์ประกอบหลักและย่อย การวิเคราะห์ข้ามกรณีศึกษาเพื่อยืนยันองค์ประกอบหลักและย่อยของทุนทางปัญญากับการวัดทุนทางปัญญาสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย หลังจากนั้นทำการสังเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความเหมาะสมของดัชนีบ่งชี้หรือ KPIs ระหว่างสแกนเดีย เนวิเกเตอร์กับดัชนีวัดผลสำเร็จตามภารกิจของบริษัทฯ

ผลการวิจัยพบว่า ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทยมี 4 องค์ประกอบหลักและย่อย พร้อมดัชนีบ่งชี้ดังนี้

1. ทุนภาวะผู้นำ ประกอบด้วย วัฒนธรรมเชิงคุณค่าและความภูมิใจในประสิทธิภาพขององค์การ
ดัชนีบ่งชี้คือ มูลค่าเพิ่ม/พนักงาน ผลสำรวจเรื่องภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ระดับการควบคุมภายในและจริยธรรม และผลกำไรต่อเป้าหมาย

2. ทุนความสัมพันธ์ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์กับลูกค้าผู้ร่วมค้าและพนักงาน ความพึงพอใจและจงรักภักดีต่อองค์การของลูกค้า
ดัชนีบ่งชี้คือ การสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์ภายนอก มูลค่าเพิ่ม/ลูกค้า มูลค่าตลาด/พนักงาน ส่วนแบ่งตลาด ความจงรักภักดีในตราสินค้า ความคาดหวังต่อการบริการลูกค้า จำนวนช่องทางจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี จำนวนลูกค้าบ่นต่อว่าลดลงและเปอร์เซ็นต์การส่งคืนสินค้าลดลง

3. ทุนองค์การ ประกอบด้วย การเรียนรู้ในการผลิต คุณสมบัติเฉพาะผลิตภัณฑ์ ทรัพย์สินทางปัญญา (ตราสินค้า เครื่องหมายการค้า ซอฟท์แวร์) คุณสมบัติเฉพาะผลิตภัณฑ์ และฐานข้อมูลทางความรู้
ดัชนีบ่งชี้คือ กำไรที่ได้จากการดำเนินธุรกิจใหม่ มูลค่ารวมของสินทรัพย์ มีผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมาในแต่ละปี การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา ต้นทุนการผลิตต่อ ตรม.อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อรายการต่อปี การปรับใหม่และพัฒนาด้านต้นทุน และการปรับสู่มาตรฐานในคุณภาพอุตสาหกรรม

4. ทุนทรัพยากรบุคคล ประกอบด้วย ความเชี่ยวชาญเฉพาะ การจัดการความรู้ให้เพิ่มขึ้น
การริเริ่มและการเรียนรู้และสวัสดิการและการดูแลพนักงาน
ดัชนีบ่งชี้คือ มูลค่าเพิ่ม/พนักงาน ค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรม/ค่าใช้จ่ายด้านบริหาร ค่าใช้จ่ายทั่วไปด้านการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน ค่าใช้จ่ายในการจัดหาและทดแทนตำแหน่ง จำนวนครั้งในการฝึกอบรม การประเมินผลจากข้อสอบ วิธีการประเมินผลของผลตอบแทนต่างๆ การประเมินผลพนักงานและดัชนีวัดความพึงพอใจของพนักงาน

Abstract

The purpose of this research is to create and develop a Strategic Intellectual Capital Model (SICM) that explains competitive advantage within the culture of Thai enterprises. The scope of research population were small and medium Thai enterprises that produced and distributed PVC Vinyl Tiles in Thailand; therefore, the research was based on a case study protocol and triangulation with twenty-six key informants of the Construction Accessories Company.

The Method used in the case study was developed SICM from the Pattern Matching between the predicted pattern and empirically based pattern to identify common and sub-elements of Intellectual Capital (IC). A cross-case analysis was used to ensure external validity. In addition, a meta-indicator analysis was used to confirm KPIs of the SICM firm.

The results show that the SICM consisted of four elements as follow :

1.Leadership capital contains two elements that are cultural values and pride in organizational efficiency.
The indicators are value added per employees, level of ethic and internal control, result of products image survey and profit per target.

2.Relational capital contains five elements, namely customer, vendors and employees relationships, customer satisfaction and loyalty and service value retention.
The indicators are to create and develop external relations, value added per customers, market value per employees, market share, brand loyalty, expected services, increasing distribution channel per year, decreasing customer complaints and percentage of goods returned.

3.Organizational capital contains four elements, namely production learning process, intellectual property (brands, trademark, softwares), product specification, and knowledge database.
The indicators are profits from new business, total asset values, increasing new products per year, R&D investment, cost per unit on target, cost per product development per year, cost of renewal development and towards industry quality standards.

4.Human resource capital contains five elements, namely technical skills, initiation and learning, increasing knowledge management, training and development as well as, employees benefits and welfare.
The indicators are total value per employee, cost of training per administration cost, general cost of training and development, cost of recruit and replacement, amount of training time, knowledge assessment, methods of compensation evaluation, performance appraisal and employee satisfaction index.

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants
Create Date : 21 สิงหาคม 2549

No comments:

Post a Comment