กว่าจะมาเป็นหนังสือ "ทุนมนุษย์จัดการให้ดีสู่ดีเลิศ" เล่มนี้ เริ่มมาจาก ดร.ดนัย เทียนพุฒ ผู้นำด้าน HR สมัยใหม่ มีความสนใจตั้งแต่ช่วงที่ทำ Dissertation ในระดับปริญญาเอกว่า เรื่องของ การจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital Management : HCM) เป็นสิ่งที่สับสนกันมากในวงการด้าน HR และธุรกิจ แต่ยังติดว่าตอนนั้นมุ่งสนใจในเรื่องการวิจัยเกี่ยวกับ "การจัดการทุนทางปัญญา(Intellectual Capital Management)" ทำให้ต้องหยุด เรื่อง HCM ไว้ก่อน
พอปี่ 2551 มีเวลาที่จะขยับทำวิจัยด้าน HCM จึงจัดทำโครงการวิจัยเรื่อง "โมเดลใหม่การจัดการและการวัดทุนมนุษย์สำหรับธุรกิจในประเทศไทย" ขึ้นมา ซึ่งได้นำเสนอความคืบหน้าและผลการศึกษามาเป็นระยะ หรือ ผู้บริหาร HR ที่เข้าโปรแกรมสัมมนากับ ผู้เขียนได้มีโอกาสและมีส่วนร่วมในการตอบแบบสอบถาม(ต้องขอขอบคุณ ณ ที่นี้มาอีกครั้ง) และโดยเพราะกลุ่มที่เข้าสัมมนาเรื่อง "วิธีการสร้าง KPI เพื่อวัดความสำเร็จในการบริหาร HR" ได้ร่วมทำ กลุ่มสนทนา (Focus group) เพื่อยืนยันผลการศึกษา เมื่อผู้เขียนสรุปผลเสร็จได้เผยแพร่ขั้นต้น (มีผู้เข้ามา Download มากทีเดียวครับ ประมาณ 500 กว่า ผู้เยี่ยมชม........คลิกไปอ่าน/โหลดได้....."ทุนมนุษย์" เปิดงานวิจัยล่าสุด โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ)
หลังจากนั้นอีกพักนึง ประมาณ 16 มี.ค.53 หนังสือเล่มนี้ใกล้จบเต็มที่.. จนเสร็จเป็นต้นฉบับเรียบร้อย เหลือรูปเล่มอีกนิดหน่อย
ความพิเศษของหนังสือเล่มนี้คือ เป็นงานวิจัยโครงการข้างต้นแต่เขียน ในรูปแบบกึ่งวิชาการ ไม่ใช่เขียน 100 % เป็นรายงานการวิจัย เพราะรายงานการวิจัยไม่น่าอ่าน เผยแพร่ได้ในวงจำกัด และไม่คิดที่จะหยิบไปต่อยอดความรู้ ทำให้ผู้เขียนปรับแนวคิดใหม่ของการเขียนงานวิจัยให้เป็น Practical Research Report หรือ Business The How-to Book
ขณะเดียวกันหนังสือเล่มนี้ได้ตอบคำถามและข้อสับสนทาง การจัดการทุนมนุษย์ ทั้งความหมาย จุดมุ่ง การจัดการ HC และการวัด HCM อีกทั้งในส่วนต้นของหนังสือได้ย้อนกลับไปสู่วิวัฒนาการ HRM และความแตกต่างกับ HCM กลับในบทท้ายได้เชื่อม ความท้าทายในอนาคตของ HR Transformation กับ HCM ให้เห็น การจัดการทุนมนุษย์ที่ยังไม่มีใครคิดมาก่อน
นี่คือความท้าทายทางปัญญาสำหรับ "การบริหาร HR" ที่ท่านจะได้จากหนังสือ"ทุนมนุษย์จัดการให้ดีสู่ดีเลิศ" บวกกับการวิจัย"โมเดลใหม่การจัดการและการวัดทุนมนุษย์สำหรับธุรกิจในประเทศไทยเหมือน 2 in 1 ครับ
ชื่อหนังสือเล่มนี้ : ทุนมนุษย์จัดการให้ดีสู่ดีเลิส
ผู้แต่ง : ดร.ดนัย เทียนพุฒ
จุดเด่น : เป็น การจัดการทุนมนุษย์ที่มาจากการวิจัยด้าน HR ในประเทศไทย และชี้อนาคตกับการแปลงรูป HR (HR Transformation)
จำนวน : 400 หน้า (รูปเล่มเบื้องต้นจัดทำในลักษณะถ่ายสำเนาเข้าเล่มสันกาวอย่างสวยงาม)
ราคา : 450 บาท
(ค่าส่งฟรี ทั่วประเทศ พร้อมอภินันทนาการหนังสือการพัฒนามูลค่าทุนมนุษย์ มูลค่า220 บาท 1เล่ม ฟรี)
สนใจติดต่อ :โครงการ Human Capital , Tel/Fax 029301133 ,Tel 029395643
บทนำ ทุนมนุษย์: สินทรัพย์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้
บทที่ 1 ธุรกิจอนาคต : ความท้าทายและแรงกดดันต่อการบริหาร HR
ทัศนภาพของแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลง
- โลกอนาคต 2020
- วิสัยทัศน์ในปี 2020
- ธุรกิจในปี 2020
- บริษัทในปี 2020
- อนาคตประเทศไทยในปี 2020
ความท้าทายและแรงกดดันต่อการบริหาร HR
การบริหาร HR ในอนาคตภายใต้บริบทและวัฒนธรรมการบริหารธุรกิจในประเทศไทย
บทที่ 2 แนวคิดของ HRM
แนวคิดของ HRM
- ที่มาของคำว่า “Personnel Management”
- เกิดคำว่า “Human Resource Management”
- มุมมองและขอบเขตของ HRM
- ศาสตร์ของการจัดการใน HRM
- วิวัฒนาการของหน้าที่ HR
- HRM ในประเทศไทย
บทที่ 3 แก่นแท้ของการจัดการทุนมนุษย์
3.1 แนวคิดของทุนมนุษย์
ทุนมนุษย์ (Human Capital)
- จุดเริ่มต้นของแนวคิด
- การให้ความหมายของทุนมนุษย์
- ปรับแนวคิดสู่วิธีการใหม่
- ทุนมนุษย์ : วงจรข้อมูลสู่คุณค่า
- ทุนมนุษย์ในการบริหาร HR ของไทย
- นิยามทุนมนุษย์ : บทสรุป
3.2 จุดมุ่งของทุนมนุษย์
จุดมุ่งของทุนมนุษย์
วิวัฒนาการจุดมุ่งทุนมนุษย์ในบริบทของ HR
- วิวัฒนาการของจุดมุ่งทางกลยุทธและบทบทของ HR
- การสร้างคุณค่า HR ต่อธุรกิจ
- โมเดล HCM เชื่อมโยงสู่ HR Scorecard
แนวคิดในการวัดมูลค่าทุนมนุษย์
- แนวคิดเริ่มแรกของการวัดมูลค่าทุนมนุษย์
- วิธีการที่ธุรกิจนิยมใช้ในการวัดประสิทธิผล HR
- ความตระหนักรับผิดชอบในการวัดทุนมนุษย์
อนาคตที่ควรมุ่งไปของการจัดการทุนมนุษย์
3.3 การจัดการทุนมนุษย์
การจัดการทุนมนุษย์
การจัดการทุนมนุษย์ : สร้างมูลค่าเพิ่มจากทุนมนุษย์
- การนิยาม HCM
จุดประสงค์ องค์ประกอบและกระบวนการของ HCM
- จุดประสงค์ของ HCM
- องค์ประกอบของ HCM
- กระบวนการของ HCM
วิธีการของ HCM
- โรดแมปทั่วไป : HCM Model
- โมเดลการจัดการสินทรัพย์ความรู้
- แผนที่คุณค่า HCM
-10 ขั้นตอนเพื่อความสำเร็จใน HCM
- การเดินทางสู่ HCM
3.4 การวัดการจัดการทุนมนุษย์
การวัดการจัดการทุนมนุษย์
ความหมายของการวัด
- การวัดคืออะไร?
มิติของการวัด
วิธีการวัดที่ธุรกิจนิยมใช้
- วิธีการวัดทุนมนุษย์
- 7 ขั้นตอนของมาตรการวัดที่ดี
โมเดลของการวัด HCM
- ดัชนีวัดทุนมนุษย์ (Human Capital Index (HC Index)
- เมทริกซ์คุณค่า HCM (The HCM Value Matrix)
- วาระใหม่ของ HR เชิงธุรกิจ : 56 รายการ
ตรวจสอบ HRM ที่มีประสิทธิภาพ
- การวัด ROI ของทุนมนุษย์
- HR Scorecard
งานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวัด HCM
- HCM กับกลยุทธธุรกิจ
- การวัด HCM: ปัจจัยแลดัชนีชี้วัด
- ตัวอย่างความสำเร็จการวัด HCM ที่ RBS
บทที่ 4 การสังเคราะห์โมเดลใหม่การจัดการและการวัดทุนมนุษย์
การสังเคราะห์โมเดลใหม่การจัดการและการวัดทุนมนุษย์
- บริบทแรก ธุรกิจอนาคต : ความท้าทายและแรงกดดันต่อการบริหาร HR
- บริบทที่สอง แนวคิดและทฤษฎี HCM
- บริบทที่สาม การจัดการและการวัดทุนมนุษย์
- บริบทที่สี่ โมเดลใหม่ของการจัดการและการวัดทุนมนุษย์สำหรับธุรกิจในประเทศไทย
บทสรุป ความท้าทายของ HCM สู่อนาคต
ภาคผนวก
ก. ภาพรวมการวิจัย
ข. คุณลักษณะของผู้ตอบแบบสอบถาม
ค. การวิเคราะห์ทางสถิติด้านการปรับใช้วิธีการของการจัดการทุนมนุษย์
ง. ลำดับความสำคัญของขอบเขตงาน HCM
จ. สิ่งที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ในการวัด HCM
อ้างอิง
No comments:
Post a Comment