ผู้เขียนเมื่อเริ่มที่จะจัดทำ โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) หรือโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ ได้กลับมา ทบทวนว่า
1.เราจะเริ่มต้นเขียนโครงร่างการวิจัยจากไหนดี
สิ่งที่ดีที่สุดที่ทำได้ก็โดยการศึกษา โครงร่างการวิจัยของนักศึกษาปริญญาเอกของหลักสูตรอื่นของ ม.ราชภัฏสวนดุสิต เช่น DPA แต่ก็ไม่ทั้งหมดเพราะช่วงที่มีในขณะนั้นเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ
ดังนั้นสิ่งที่ผู้เขียนคิดออกคือ
- กลับมาดูที่ชื่อเรื่องของผู้เขียนว่ามีอะไรเป็น Key Words สำคัญของโครงร่างดุษฎีนิพนธ์บ้าง เช่น “ตัวแบบ” (Model) “ยุทธศาสตร์” (Strategy) “ทุนทางปัญญา” (Intellectual Capital) และ “Case Study” หรือ “กรณีศึกษา”
- บทความที่ผู้เขียนเขียนไว้เป็น บทความประจำเทอม ซึ่งได้เขียนนำร่องไว้ก่อนและคิดว่าจะนำ มาใช้ในส่วน Literature Review ทั้งหมดนี้เป็นคุณูประการจากหลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต และผ.อ.หลักสูตรการจัดการธุรกิจ (ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ ) ที่ได้กำหนดไว้
- ค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับการวิจัยเชิงกรณีศึกษา (Case Study Research)ว่าเป็นอย่างไรบ้างโดยต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
ใน 3 ส่วนนี้ถ้าได้มีโอกาสปรึกษากับผู้ทรงคุณวุฒิและอาจารย์ที่ปรึกษา เราจะมีกรอบแนวคิดในการจัดทำโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ที่ดี
2.การวิจัยเรื่อง ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรบธุรกิจไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัท ผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง จำกัด จึงสรุปหน้าตาออกมาเป็น Proposal ดังต่อไปนี้
ก้าวที่สำคัญ:จะได้มาซึ่งกรอบความคิดในการวิจัยและวิธีดำเนินการวิจัย!!
ผู้เขียน (ผู้วิจัย) เชื่อว่าสิ่งที่เป็นความยากของนักศึกษาปริญญาเอกทุกคนคือ การทำอย่างไรให้ได้มาซึ่ง กรอบความคิดในการวิจัย (Research Framework) และวิธีดำเนินการวิจัย (Research Method) แต่สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นเรื่องง่ายๆ ขึ้นมาทันที ซึ่งผู้เขียนมีเคล็ดลับดังนี้
1. ต้องมีการทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) โดยครอบคลุมคำสำคัญ (Key Words) ตามชื่อเรื่องของดุษฎีนิพนธ์ที่เราจะทำการวิจัย
- การทบทวนวรรณกรรมนี้จะช่วยในการปรับปรุงคำถามในการวิจัยหรือความสนใจในการวิจัยให้คมชัดขึ้น
- จะทำให้เห็นแนวทางว่า กรอบความคิดในการวิจัย (Research Framework) ซึ่งจะมีทั้ง กรอบความคิดทางทฤษฎี (Theoritical Framework) และกรอบความคิดในการวิจัยทางปฏิบัติ (Conceptual Framework) ได้อย่างลงตัว
2. ผู้เขียนได้ทบทวนวรรณกรรมแล้วเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัยไว้เป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ
(1) กรอบแนวคิดในตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา (ตรงตามชื่อเรื่องที่เป็น Key Words เลยครับ) โดยการสังเคราะห์ให้ได้ว่า ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา ควรจะมีลักษณะเป็นอย่างไร เช่น
“สิ่งที่เป็นคุณลักษณะหลักสำหรับตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา ควรประกอบด้วย ความเป็นระบบ (Systematic) ระบบเปิด (Open) พลวัต (Dynamic) ยืดหยุ่น (Flexible) การทำให้เหมาะได้ (Adaptive) และนวัตกรรม (Innovation) (Castro; Lopez; Muina and Saez, 2004)”
(2) กรอบแนวคิดในการวิจัยตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย
ในการทบทวนทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า
1) ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาที่เป็นตัวแบบที่เป็นหลักการทั่วไป (General Models) เป็นตัวแบบที่พัฒนาขึ้นในช่วงแรกและมักจะนิยมอ้างอิงถึงโดยเฉพาะ
ตัวแบบ “สแกนเดีย เนวิกเกเตอร์” ของเอ็ดวินส์สันและมาโลน (1997)
ผู้เขียนจึงใช้ตัวแบบ “สแกนเดีย เนวิเกเตอร์” เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย
2)การจัดประเภทของทุนทางปัญญาหรือองค์ประกอบของทุนทางปัญญา รูส์ (Roos, 1997) ได้พัฒนาระบบทุนทางปัญญาเพื่อให้สามารถจัดประเภทของทุนทางปัญญาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า “ตัวแบบกระบวนการ” (The Process Model)
ผู้เขียนจึงใช้แนวคิดการพัฒนาระบบทุนทางปัญญาตาม “ตัวแบบกระบวนการ”
1) องค์การส่วนใหญ่ที่สามารถกำหนดรูปแบบการริเริ่มจัดการทุนทางปัญญาได้จะมีสิ่งที่เป็นหัวใจหลักๆ ซึ่งเป็นตัวผลักดันการริเริ่มนี้คือ การจัดวางคุณค่าที่เหมาะสม (Bontis, 2002) และคุณค่าจะก่อรูปแบบเป็นวัฒนธรรมหลักขององค์การ (Hofstede, 2005)
ผู้เขียนจึงคำนึงถึงการพัฒนาตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัท ผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง จำกัด ในบริบทของวัฒนธรรมการบริหารแบบไทยด้วย
ดังนั้น กรอบแนวคิดในการวิจัยตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย จะเป็นดังรูป
ก้าวแห่งความสำเร็จ : วิจัยเป็นประดิษฐกรรมทางปัญญาสูงสุด !!!
ก่อนที่จะสอบโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation Proposal) ในวันที่ 16 ก.ย.2548 เวลา 13.00 น. ณ ศาลาชื่นอารมย์ ผู้เขียนได้ลองทบทวนว่า ทำอย่างจึงจะเสนอตามที่ได้มีการทบทวนวรรณกรรมมาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสู่ กรอบแนวคิดอย่างลงตัวใน PowerPoint เพียงหนึ่งหน้าแล้วเชื่อมโยงไปสู่วิธีดำเนินการวิจัย
เชื่อหรือไม่ครับ ผู้เขียนใช้เวลาอยู่ 3 วันจึงสรุปได้อย่างลงตัวเพราะพยายามนั่งคิดหาวิธีที่จะกำหนด
-ตรรกของความคิดตามหัวข้อวิจัยของผู้เขียน
-การหารูปแบบที่จะเกิดเป็น การสรุปรวมความคิดที่ไม่ซับซ้อนมากนัก แต่ทำให้ผู้ฟังคือ คณะกรรมการสอบฯ หรือผู้สนใจเข้าใจตามเรื่องราวที่เราอธิบายอยู่
-ผู้ทรงคุณวุฒิและอาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งได้ให้คำแนะนำจากที่ท่านได้อ่านโครงร่างดุษฎีนิพนธ์จะช่วยเติมแต่งให้องค์ความรู้ทางวิจัยและวิชาการด้านเนื้อหาที่ดียิ่ง
สุดท้ายครับ ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ จงเชื่อมั่นในตนเองและก้าวเดินไปสู่ความ-
สำเร็จ ”Dissertation Proposal” คือ เข็มทิศนำทางสู่ปริญญาการจัดการดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Management) ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่กำลังเตรียมทำหรือจะก้าวสู่บันไดขั้นนี้นะครับ!!
อ.ดนัย เทียนพุฒ
Aj.Danai Thieanphut
DNT Consultants
Create Date : 03 สิงหาคม 2549
ชื้นชอบผลงานและการนำเสนอของอาจารย์ดนัยมากคะ เคยได้มีโอกาสฟังบรรยายของอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
ReplyDeleteอาจารย์ มีเทคนิคการบรรยายที่น่าสนใจ และสามารถทำเรื่องยากให้ดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆๆ สุดยอดคะ