บทเรียนที่เป็นเลิศ : การสอบโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ (ต่อ)
ก้าวแรก:ขอแนวทางจากอาจารย์ที่ปรึกษา!!!
เมื่อผู้เขียน ได้เรียนหารือ ท่านคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย (รศ.ดร.พยอม วงศ์สารศรี) ขอเชิญท่านเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ ด้วยหลายๆ ปัจจัยจาก
1) ดุษฎีนิพนธ์ของผู้เขียนเกี่ยวกับ “ตัวแบบทุนทางปัญญา” (Intellectual Capital Model) เป็นเรื่องที่ยังถือว่าใหม่มากในเมืองไทย หาผู้รู้และเชี่ยวชาญค่อนข้างยาก
2) ผู้เขียนได้เลือกการศึกษาในลักษณะ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Re-search) โดยใช้กลยุทธการวิจัย (Research Strategy) ในรูปแบบการวิจัยเชิงกรณีศึกษา (Case Study Research) จึงอยากได้ผู้ที่เชี่ยวชาญทางการวิจัยและเปิดกว้างในการวิจัยใหม่ๆ ที่ไม่อยู่ในกรอบของการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)
3) ผู้เขียนเลือกที่จะนำเสนอดุษฎีนิพนธ์แบบฟรีสไตล์ (Unformated Research Style) แต่ตอบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญในการวิจัยได้ครบถ้วน เช่น คำถามในการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย กรอบแนวคิดในการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย เป็นต้น
ท่านอาจารย์ที่ปรึกษาได้ให้คำแนะนำในการจัดทำโครงร่างการวิจัย (Research Proposal) หรือโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ ในรูปแบบของการจัดทำเต็มรูป ถ้านึกถึงรูปแบบตาม Format ก็คือ บทที่ 1-3 โดยประกอบด้วย
บทนำ : บทที่ 1
-ความสำคัญของการศึกษา
-ความสนใจในการวิจัย/คำถามการวิจัย
-สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
-วัตถุประสงค์ของการวิจัย
-ขอบเขตการวิจัย
-ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
-นิยามศัพท์เฉพาะ
บทที่ 2 : วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
-งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-กรอบแนวคิดในการวิจัย
บทที่ 3 : วิธีดำเนินการวิจัย
-ระเบียบวิธีวิจัย
ประเด็นที่เกิดเป็นคำถามของผู้เขียน คือ จะเริ่มยังไงดีล่ะครับ!
อ.ดนัย เทียนพุฒ
Aj.Danai Thieanphut
DNT Consultants
Create Date : 03 สิงหาคม 2549
No comments:
Post a Comment