Saturday, November 27, 2010

ไขข้อข้องใจ Strategic Human Capital : ดร.ดนัย เทียนพุฒ

หลังจากอ่านหนังสือหนังสือทุนมนุษย์จัดการให้ดีสู่ดีเลิศของอาจารย์แล้วมีประเด็นอยากขอคำแนะนำจากอาจารย์ ถ้ามีเวลาตอบก็จะขอบคุณมากค่ะ
1. HR platform หมายถึงอะไรค่ะถ้าอธิบายแบบเข้าใจง่ายๆคืออะไร และ business platform คืออะไร
2. อาจารย์คิดว่า HCM และ Strategic human capital orientation เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร
แนวคิด 2 ประเด็นนี้เป็นเรื่องเดียวกันหรือเปล่าค่ะ 
ขอบคุณค่ะ
สุมิตรา  


คุณสุมิตรา

ข้อ 1.  คำว่า platform อธิบายคล้าย ๆ สิ่งที่เป็น โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร หรือ พื้นฐานธุรกิจ เช่น ธุรกิจเงินทุน คงต้องมี พื้นฐานการวิจัย หรือ ศึกษากลยุทธการลงทุน  มี่แหล่งเงินทุนสำรองที่พอกำการดำเนินธุรกิจ  มีนักวิเคราะห์การลงทุนที่เ่ก่ง มีแหล่งIntelligence ที่ดี และ สุดท้าย มีพันธมิตรทางธุรกิจ

HR platform คงเป็นเช่นเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบันใช้ Competency เป็น platform ในการคิด ระบบงาน HR  และกลยุทธ HR 
HR platform จึงเป็นส่วนหนึ่งของ Business platform ครับ

ข้อ 2  HCM และ Strategic HC Oriented (tation) -น่าจะเป็นแบบที่ผมเขียนมากกว่า
  -การศึกษาของผมที่ทำวิจัยมา ทั้ง 21คำไม่แตกต่างกัน เพราะ เมื่อใดก็ตามที่พูดถึง HCM ต้องเป็นเรื่อง การจัดการ และกลยุทธ ควบคู่กันไป
 -แต่เป็นไปได้ที่บางคนอาจแปลตามศัพท์ แล้วบอกว่าไม่เหมือน อันนี้ก็แล้วแต่จะว่ากันไป
 -ในทางปฏิบัติ ของ HR  ..HCM ต้องคิดเชิงกลยุทธเสมอ เพราะ "ทุนมนุษย์แตกต่างไปจาก การบริหารคน ตามความหมายที่ใช้อยู่เดิม "  ทุนมนุษย์สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในตัวเองได้ สิ่งนี้เราจึงอาจเรียกได้อีกว่า "ทุนทางปัญญา" (โดยทั่วไปรวมทุนมนุษย์อยู่ด้วย)

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
*************************


เรียน ดร. ดนัย เทียนพุฒ ที่เคารพ
        ต้องขอรบกวนอาจารย์อีกสักครั้ง เพราะยอมรับในความเชี่ยวชาญทางวิชาการด้านทรัพยากรมนุษย์จากการอ่านหนังสือหลายเล่มของอาจารย์
คือว่าตอนนี้กำลังทำวิทยานิพนธ์ซึ่งอาจารย์ที่ปรึกษาได้กำหนดตัวแปรหลักคือ Strategic Human capital Orientation
จากการทบทวนวรรณกรรมพอจะสรุป definition และ dimension ได้ตามที่แนบไฟล์มาให้อาจารย์ค่ะ อยากขอความ
ช่วยเหลือให้อาจารย์วิจารณ์และชี้แนะด้วยค่ะว่าการอธิบายความหมายมีความถูกต้อง ชัดเจน เข้าใจตัวแปรหลักตรงประเด็นหรือไม่
และมีขอบกพร้องที่ต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง เช่น keyword ของแต่ละความหมายคืออะไร ขอบคุณมากจริงๆ ค่ะ
และขอให้ความดีที่อาจารย์ถ่ายทอดและแบ่งปันความรู้ช่วยเหลือหลายๆคน ทำให้ก้าวหน้ารุ่งเรืองในชีวิตการงานยิ่งขึ้นนะค่ะ

สุมิตรา จิระวุฒินันท์



The relationship between strategic human capital orientation and sustainable business performance


Human Capital Orientation
    - HR Investment Program
     - Employee Knowledge 
          Creation Support               ---------------->  Sustainable  business performance                                                                                                    
     - Human Capital Valuability Awareness
     - Staff Learning Utilization



vStrategic human capital orientation คือ ความสามารถของกิจการในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการมุ่งเน้นประเด็นสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรที่ได้มาจากทุนมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยทักษะ ความสามารถ ความรู้ ประสบการณ์ พฤติกรรม ความสัมพันธ์ และคุณลักษณะเฉพาะบุคคลที่สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กรเป็นตัวสร้างผลิตภาพที่ทำให้กิจการมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน โดยแบ่งเป็น 4 มิติ (Dimension) ดังนี้
¯HR Investment Program: แผนงานการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์
หมายถึง ความสามารถขององค์กรในการลงทุนเพื่อเพิ่มพูนคุณภาพของ HR ทำให้เกิดการพัฒนามนุษย์ภายใต้แนวคิดที่ว่าทุนมนุษย์เป็นสินทรัพย์ขององค์กรที่มีมูลค่าและเป็นตัวกำหนดผลิตภาพ (Productivity) ดังนั้นการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ (HR) เพื่อเพิ่มพูนความสามารถจึงนำไปสู่คุณภาพและผลผลิตที่สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กรสามารถสร้างมูลค่าให้กับองค์กรและในทางกลับกันก่อให้เกิดผลตอบแทนแก่พนักงาน
การลงทุนในมนุษย์ประกอบด้วย
1) ด้านสุขภาพเชิงกายภาพ เป็นการลงทุนปัจจัยที่จับต้องได้
2) ด้านสุขภาพเชิงจิตภาพ เป็นการลงทุนในเรื่องของจิตใจและอารมณ์ 
 3) ด้านปัญญาภาพ เป็นการลงทุนในเรื่องของการศึกษาการเรียนรู้ 
4) ด้านชุมชนหรือกลุ่ม ความสัมพันธ์ทางสังคม
ตัวชี้วัดคือ  - งบประมาณการฝึกอบรม การพัฒนา การให้การศึกษา
                   - เวลาในการการฝึกอบรม การพัฒนา การให้การศึกษา
                   - เปรียบเทียบการลงทุนทรัพยากรมนุษย์กับคู่แข่งขัน
                   - ระดับการจ้างงานทุนมนุษย์
                   -  การมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
                   - ระบบสวัสดิการและค่าตอบแทน
¯Employee knowledge creation support การสนับสนุนการสร้างสรรค์ความรู้ของพนักงาน หมายถึงการที่องค์กรส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและสร้างความรู้จากทักษะ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และคุณลักษณะของแต่ละบุคคลทั้งในและนอกองค์กรในลักษณะต่างๆ โดยให้การสนับสนุนปัจจัยสร้างความรู้ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 4 ตัวแปร คือองค์ประกอบย่อยด้านองค์การ องค์ประกอบย่อยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ประกอบย่อยด้านความรู้ ความสามารถ และองค์ประกอบย่อยด้านการมีส่วนร่วมองค์กร เช่น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การระดมความคิด การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างบุคคลในกลุ่ม ซึ่งทำได้ทั้งก่อนลงมือทำงาน ระหว่างการทำงานและประสบการณ์หลังจากการทำงาน ซึ่งอาจมีการทดลองใช้ความรู้ที่สร้างขึ้นมาใหม่ การประกาศองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ การทำงานที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม และวัฒนธรรมองค์การในการสร้างความไว้วางใจในการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน เน้นความเป็นเพื่อนร่วมงาน ส่งเสริมความคิดนอกกรอบ (lateral thinking) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (creative thinking) วัฒนธรรมการใช้ข้อมูลหลักฐานและเหตุผลมากกว่าการใช้อำนาจ ความรู้สึกและอารมณ์  ช่วยส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้การจัดการความรู้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพต้องมีการเพิ่มอำนาจ และความรับผิดชอบในงาน (Empowerment) ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้บุคลากรที่มีความสามารถในการเรียนรู้ มีอิสระในการคิดและตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของตนเอง สามารถแก้ปัญหาและสร้างสรรค์งานได้อย่างเต็มที่ ที่สำคัญก็คือ องค์การควรกระจายความรับผิดชอบและตัดสินใจในการแก้ปัญหา องค์การต้องจัดบรรยากาศที่สนับสนุน (Supportive Atmosphere) ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้บุคลากรได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ตัวชี้วัดคือ  - การสร้างบรรยากาศการทำงานที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม
-                   วัฒนธรรมองค์การในการสร้างความไว้วางใจในการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน
-                    เน้นความเป็นเพื่อนร่วมงาน
-                   ส่งเสริมความคิดนอกกรอบ (lateral thinking) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (creative thinking)
-                   จัดบรรยากาศที่สนับสนุน (Supportive Atmosphere) ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้บุคลากรได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่
-                   เทคโนโลยี
¯Human capital valuability awareness : ความตระหนักการทรงคุณค่าของทุนมนุษย์
หมายถึง องค์กรมุ่งเน้นให้ความสำคัญทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ ความสามารถความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และพฤติกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรด้วยการกำหนดแนวปฏิบัติในการรักษาคนเก่ง การแสวงหาคนเก่ง การสร้างสิ่งจูงใจ การยกกระดับของบุคลากรให้เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดคุณค่าและมูลค่าเพิ่มกับองค์กรให้มีความสามารถสูงสุดเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่งขัน
ตัวชี้วัดคือ     - การรักษาคนเก่ง
                      - การสรรหาคนเก่ง
                      - การสร้างสิ่งจูงใจ ให้รางวัล
                      - การยกระดับบุคลากร
               -  มีการให้รางวัลแก่ทีมงาน หรือบุคคลที่สามารถสร้างองค์ความรู้หรือนวัตกรรม
¯Staff learning utilization: การใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้ของบุคลากร
หมายถึงความสามารถขององค์กรในการนำความรู้ของทรัพยากรมนุษย์จากการเรียนรู้มาใช้ประโยชน์ในการทำงานให้เหมาะกับความรู้ความสามารถ โดยการสร้างงานและการจ้างงานเต็มความรู้ ความสามารถ และเต็มเวลา ทำให้การใช้ทุนมนุษย์ที่มีอยู่เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลสูงสุด การเรียนรู้ของบุคลากรประกอบไปด้วย การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และการปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงที่ช่วยนำไปสู่เป้าประสงค์และ/หรือแนวทางใหม่ ๆที่สำคัญคือ การเรียนรู้จะต้องถูกปลูกฝังลงไปในการปฏิบัติงานขององค์กรด้วยซึ่งหมายความว่า การเรียนรู้จะต้องเป็นเรื่องปกติของงานประจำวัน มีการปฏิบัติในระดับบุคคล หน่วยงาน และองค์กร ส่งผลต่อการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุโดยตรง (Root Cause) มุ่งเน้นในการแลกเปลี่ยนความรู้ทั่วทั้งองค์กร การเรียนรู้ในองค์กรนั้นอาจมาจากความคิดพนักงาน การวิจัยและพัฒนา ข้อมูลจากลูกค้า การแลกเปลี่ยนความรู้ในวิธีการทำงานที่เป็นเลิศ และการเปรียบเทียบกับองค์กรที่เป็นเลิศ (Benchmarking) โดยอาจนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ทางหนึ่งด้วย
ตัวชี้วัดคือ    - การวัดผลการดำเนินงานมุ่งผลลัพธ์
                     - การวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม
                           - บุคลากรมีการปรับปรุงพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
                           - การสนองตอบลูกค้าด้วยบริการใหม่
                           - กระบวนการทำงานใหม่เมื่อเทียบกับคู่แข่งขัน
                  


**********
คุณสุมิตรา

อย่างแรก คงต้องรู้ก่อนว่า ทั้ง 4 ตัวแปร นั้นมี่ ทฤษฎีอะไรมาบอกว่าเป็นการจัดการทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ  ผมไม่เห็นที่มาที่ไป

ต่อมา ผมยังมองว่า Scope ของ Strategic HC  ที่เป็นระดับธุรกิจไม่เห็น เช่น การเกิดทุนทางปัญญา ดังนั้นน่าพิจารณาให้กว้างขึ้นเป็นระดับธุรกิจ

และสุดท้าย ผมไม่แน่ใจว่าหรือไม่เห็นว่ามีอะไรบอกถึง ความยั่งยืนในผลลัพธ์ของธุรกิจแต่อย่างไร

ทั้งหมดอาจเป็นเพราะนิยาม Strategic HC ไม่ชัดก็ได้ หรือ  ฺB-Performance ไม่ชัด

ดร.ดนัย เทียนพุฒ

Thursday, July 1, 2010

การวัดความรู้



เรียนอาจารย์ ดร. ดนัย เทียนพุฒ ที่เคารพ
ดิฉัน นางสาวเบญจมาศ  ปรีชาคุณ  หัวหน้างานการพยาบาลผ่าตัด  โรงพยาบาลศิริราช
ซึ่งเคยผู้เข้าอบรม หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ระหว่างวันที่ 18 มีนาคม - 15 พฤษภาคม 2552 ณ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่่าพระจันทร์
และได้ฟังอาจารย์บรรยาย เรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงาน ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2552
    ขณะนี้ดิฉัน กำลังศึกษาระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  และกำลังทำดุษฎีนิพนธ์เรื่อง
การพัฒนาระบบประเมินพัฒนาการด้านความรู้และทักษะ ของพยาบาล งานการพยาบาลผ่าตัด  โรงพยาบาลศิริราช
โดยเน้นการสร้างระบบ ประเมิน เพื่อดูพัฒนการความรู้และทักษะ ของพยาบาล  ซึ่งมี ดร.สุพักตร์ พิบูลย์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ในการกำหนดตัวชี้วัดด้านการพัฒนาความรู้ นั้น ดร.สุพักตร์ แนะนำให้ใช้เกณฑ์ของท่านอาจารย์ ดร. ดนัย  ที่ได้เคยศึกษาระดับปริญญาเอก
ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ;ว่าถ้าความรู้ posttest มากกว่า pretest ร้อยละ 15 ถือว่าผู้เข้าอบรมมีพัฒนาการ (growth) และอาจารย์สุพักตร์บอกว่า
ถือเป็นเกณฑ์ที่ธนาคารโลกใช้เป็นตัวชี้วัด  ดิฉันขอความกรุณาให้อาจารย์ช่วยแนะนำในรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยค่ะว่า
1. ปัจจุบัน ยังใช้เกณฑ์พัฒนาการ ร้อยละ 15 อยู่หรือเปล่าคะ
2. อาจารย์มีเกณฑื๋ในการวัดพัฒนาการใหม่หรือไม่คะ
3. ธนาคารโลก ยังใช้เกณฑ์ตัวนี้อยู่หรือเปล่าคะ
4. อาจารย์มีเอกสารด้านนี้ให้ศึกษาเพิ่มเติมหรือเปล่าคะ
   เรียนปรึกษาอาจารย์ด้วยความเคารพค่ะ ถ้าอาจารย์มีเวลาช่วยกรุณาตอบให้ทราบด้วยค่ะ
เบญจมาศ ปรีชาคุณ

*********
เรียนคุณเบญจมาศ

1.เกณฑ์ที่วัดการเรียนรู้ Pre-Post Test ดูความแตกต่างของค่าคะแนนที่เพิ่มขึ้น ผมทำในช่วง ป.โท ที่
จุฬาครับ (อิงบางเกณฑ์มาจากธนาคารโลก)
2. การพัฒนาในปัจจุบัน มุ่งไปทางวัดด้าน KPIs เสียมากกว่า แต่บางที่ก็ดูเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม
2.1 ผมไม่แน่ใจว่า % ดังกล่าวจะยังมีการใช้ หรือ พัฒนาต่อหรือไม่
2.2 Pre-Post Test -จะใช้ได้ดี ต้องมีค่า Based line   หรือ initial scores ในจากตอน Pre-test
                           - และเป็น  quantity of information
            สรุปแล้วจะใช้ได้ดีกับ grades, test scores, scaled items, and yes/no questions

2.3 นอกจากข้อ 2.2  เป็นข้อจำกัด เช่นงานบริการทั้งวัน จะดูความต่างของคแนนคงลำบาก

3. ผมพัฒนาทางด้าน KPIs มากกว่า การพัฒนาด้าน Test ครับ

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
*****
เรียนอาจารย์ ดร.ดนัย ที่เคารพ
อาจารย์คะ คำตอบข้อที่ 1 ของอาจารย์นั้น ขอความอาจารย์ช่วยกรุณา
แนะนำด้วยได้ไหมคะ ว่าอิงบางเกณฑ์มาจากธนาคารโลกนั้น สามารถเข้าไปสืบค้น
โดยใช้ keyword อะไร คะ เพราะลองเข้าไปค้นแล้วไม่เจอค่ะ เนื่องจากอาจใช้คำค้นไม่ถูกต้อง
ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ
เบญจมาศ  ปรีชาคุณ

*****

ถึงคุณเบญจมาศ

ขอโทษด้วยจำไม่ได้จริง ๆ เพราะทำตั้งแต่ปี 2523 สมัยนั้นก็ไม่ได้ค้นจากอินเตอร์เน็ต เป็น paper ครับ และไม่เหลือเอกสารแล้ว


ดร.ดนัย เทียนพุฒ

*****
ขอบพระคุณมากค่ะอาจารย์ ที่่ให้ความกรุณา

เบญจมาศ ปรีชาคุณ

ปิดการสนทนาความรู้
ดร.ดนัย เทียนพุฒ

Sunday, May 16, 2010

หัวข้อ dissertation

ชื่อ: ตูน
อีเมล: punja21@hotmail.com
หัวเรื่อง: หัวข้อ dissertation
ข้อความ:
เรียน ดร.ดนัย

   ดิฉันเป็นนิสิตปริญญาเอกทางด้านบัญชี ม.มหาสารคาม มีความสงสัยในการคิดหัวข้อ dissertation ต้องเป็นเรื่องที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อนใช่หรือไม่ และในการคิดหัวข้ออย่างน้อยต้องนำ 2 ทฤษฎีที่มีอยู่มาบูรณาการเข้าด้วยกันใช่หรือไม่
  คือ ตอนนี้ดิฉันมีความสนใจเกี่ยวกับบัญชีบริหารสมัยใหม่ ซึ่งอยากประยุกต์ใช้กับการวัดความสามารถ อาจใช้ BSC หรือ EVM ซึ่งไม่แน่ใจว่า BSC หรือ EVM เป็นเครื่องมือที่ล้าสมัยไปแล้วหรือยัง
 ขอรบกวน ดร.ดนัย ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการคิดหัวข้อด้วยน่ะค่ะ

วิจัยธุรกิจครอบครัว

ชื่อ: พลอยไพลิน กิจกสิวัฒน์
อีเมล: ploylyjung@hotmail.com
หัวเรื่อง: วิจัยธุรกิจครอบครัว
ข้อความ:
เรียน  อาจารย์ดนัย

ดิฉันจบการศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น MBA ดิฉันกำลังจะศึกษาในระดับปริญญาเอกDBA  ซื่งหัวข้อวิจัยที่ดิฉันสนใจจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง โมเดลของธุรกิจครอบครัวไทยที่มีผู้สืบทอดกิจการเป็นผู้หญิง  ดิฉันค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ แล้วดิฉันได้มาอ่านเจอบทความของอาจารย์ที่เขียนเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวจึงสนใจและอยากจะรบกวนขอคำแนะนำอาจารย์เพิ่มเติมในส่วนนี้ เพื่อจะได้เขียนเป็นโครงร่างการวิจัยเพื่อเสนอแก่professorต่อไป ตามที่ดิฉันได้ศึกษามาบ้างดิฉันคิดว่าช่องว่างของการวิจัยนี้ยังมีเรื่องของ gender Intelligent ดิฉันจึงอยากที่จะศึกษาเรื่องนี้เพื่อหาปัจจัยนี้เพิ่มเติมอีกหนึ่งปัจจัยในการสืบทอดกิจการที่มีผู้รับช่วงเป็นผู้หญิง ดิฉันคิดว่าการหาปัจจัยแห่งความสำเร็จทั้งหมด แล้วจึงวิเคราะห์และสังเคราะห์ออกมาเป็นโมเดลทางธุรกิจใหม่ เป็นเรื่องที่น่าศึกษา
หัวข้อวิจัยที่ดิฉันสนใจนั้น อยากเรียนถามอาจารย์ว่าวิธีในการนำไปสู่การหาโมเดลทางธุรกิจนั้น มีวิธีใดบ้าง เพราะจากการอ่านงานของอาจารย์ก็พบว่าอาจารย์หาปัจจัยแห่งความสำเร็จทั้งหมด ส่วนดิฉันนอกจากวิธีเริ่มจากวิธีการหาปัจจัยแห่งความสำเร็จ แล้วมีวิธีใดในการศึกษาที่จะนำไปสู่การได้คำตอบของการวิจัยในเรื่องนี้

และถ้าได้ปัจจัยแห่งความสำเร็จหรือข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม การที่จะนำไปสู่การหาโมเดลทางธุรกิจมีวิธีการใดได้บ้าง เพราะขณะนี้ดิฉันมองภาพไม่ออกค่ะอาจารย์ว่าในหัวข้อวิจัยที่ดิฉันสนใจ ขั้นตอนหารนำไปสู่การได้คำตอบหรือโมเดลทางธุรกิจในท้ายที่สุดจะเป็นอย่างไร

จึงเรียนปรึกษาอาจารย์มาเบื้องต้นค่ะ หากอาจารย์มีคำแนะนำหรือคำชี้แนะอะไรเพิ่มเติม เรียนเชิญอาจารย์ได้เลยค่ะ
ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่กรุณาสละเวลาในการอ่านอีเมลของดิฉันค่ะ


ด้วยความเคารพอย่างสูง
พลอยไพลิน กิจกสิวัฒน์
MBA มหาวิทยาลัยขอนแก่น




Tuesday, April 6, 2010

งานวิจัยล่าสุดด้านการจัดการทุนมนุษย์มาเป็นหนังสือใหม่ "ทุนมนุษย์จัดการให้ดีสู่ดีเลิศ"



        กว่าจะมาเป็นหนังสือ "ทุนมนุษย์จัดการให้ดีสู่ดีเลิศ" เล่มนี้ เริ่มมาจาก ดร.ดนัย เทียนพุฒ ผู้นำด้าน HR สมัยใหม่ มีความสนใจตั้งแต่ช่วงที่ทำ Dissertation ในระดับปริญญาเอกว่า เรื่องของ การจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital Management : HCM) เป็นสิ่งที่สับสนกันมากในวงการด้าน HR และธุรกิจ แต่ยังติดว่าตอนนั้นมุ่งสนใจในเรื่องการวิจัยเกี่ยวกับ "การจัดการทุนทางปัญญา(Intellectual Capital Management)" ทำให้ต้องหยุด เรื่อง HCM ไว้ก่อน
       พอปี่ 2551 มีเวลาที่จะขยับทำวิจัยด้าน HCM จึงจัดทำโครงการวิจัยเรื่อง "โมเดลใหม่การจัดการและการวัดทุนมนุษย์สำหรับธุรกิจในประเทศไทย" ขึ้นมา ซึ่งได้นำเสนอความคืบหน้าและผลการศึกษามาเป็นระยะ หรือ ผู้บริหาร HR ที่เข้าโปรแกรมสัมมนากับ ผู้เขียนได้มีโอกาสและมีส่วนร่วมในการตอบแบบสอบถาม(ต้องขอขอบคุณ ณ ที่นี้มาอีกครั้ง) และโดยเพราะกลุ่มที่เข้าสัมมนาเรื่อง "วิธีการสร้าง KPI เพื่อวัดความสำเร็จในการบริหาร  HR" ได้ร่วมทำ กลุ่มสนทนา (Focus group) เพื่อยืนยันผลการศึกษา เมื่อผู้เขียนสรุปผลเสร็จได้เผยแพร่ขั้นต้น (มีผู้เข้ามา Download มากทีเดียวครับ ประมาณ 500 กว่า ผู้เยี่ยมชม........คลิกไปอ่าน/โหลดได้....."ทุนมนุษย์"  เปิดงานวิจัยล่าสุด โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ)
           หลังจากนั้นอีกพักนึง ประมาณ 16 มี.ค.53 หนังสือเล่มนี้ใกล้จบเต็มที่.. จนเสร็จเป็นต้นฉบับเรียบร้อย เหลือรูปเล่มอีกนิดหน่อย
           ความพิเศษของหนังสือเล่มนี้คือ เป็นงานวิจัยโครงการข้างต้นแต่เขียน ในรูปแบบกึ่งวิชาการ ไม่ใช่เขียน 100 % เป็นรายงานการวิจัย เพราะรายงานการวิจัยไม่น่าอ่าน  เผยแพร่ได้ในวงจำกัด  และไม่คิดที่จะหยิบไปต่อยอดความรู้ ทำให้ผู้เขียนปรับแนวคิดใหม่ของการเขียนงานวิจัยให้เป็น Practical Research Report หรือ Business The How-to Book 
           ขณะเดียวกันหนังสือเล่มนี้ได้ตอบคำถามและข้อสับสนทาง การจัดการทุนมนุษย์ ทั้งความหมาย จุดมุ่ง  การจัดการ HC และการวัด HCM อีกทั้งในส่วนต้นของหนังสือได้ย้อนกลับไปสู่วิวัฒนาการ HRM และความแตกต่างกับ HCM  กลับในบทท้ายได้เชื่อม ความท้าทายในอนาคตของ HR Transformation กับ HCM ให้เห็น การจัดการทุนมนุษย์ที่ยังไม่มีใครคิดมาก่อน

           นี่คือความท้าทายทางปัญญาสำหรับ "การบริหาร HR" ที่ท่านจะได้จากหนังสือ"ทุนมนุษย์จัดการให้ดีสู่ดีเลิศ" บวกกับการวิจัย"โมเดลใหม่การจัดการและการวัดทุนมนุษย์สำหรับธุรกิจในประเทศไทยเหมือน 2 in 1 ครับ
  
          ชื่อหนังสือเล่มนี้ : ทุนมนุษย์จัดการให้ดีสู่ดีเลิส
           ผู้แต่ง   : ดร.ดนัย เทียนพุฒ
          จุดเด่น  :  เป็น การจัดการทุนมนุษย์ที่มาจากการวิจัยด้าน HR ในประเทศไทย และชี้อนาคตกับการแปลงรูป HR (HR Transformation)
           จำนวน :  400 หน้า (รูปเล่มเบื้องต้นจัดทำในลักษณะถ่ายสำเนาเข้าเล่มสันกาวอย่างสวยงาม)
           ราคา :    450 บาท
(ค่าส่งฟรี ทั่วประเทศ พร้อมอภินันทนาการหนังสือการพัฒนามูลค่าทุนมนุษย์ มูลค่า220 บาท 1เล่ม ฟรี)
           สนใจติดต่อ  :โครงการ Human Capital , Tel/Fax 029301133 ,Tel 029395643
   


สารบัญเนื้อหา (รับประกันความผิดหวัง)

บทนำ ทุนมนุษย์: สินทรัพย์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้
บทที่ 1 ธุรกิจอนาคต : ความท้าทายและแรงกดดันต่อการบริหาร HR
   ทัศนภาพของแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลง
   - โลกอนาคต 2020
   - วิสัยทัศน์ในปี 2020
   - ธุรกิจในปี 2020
   - บริษัทในปี 2020
   - อนาคตประเทศไทยในปี 2020
  ความท้าทายและแรงกดดันต่อการบริหาร HR   
  การบริหาร HR ในอนาคตภายใต้บริบทและวัฒนธรรมการบริหารธุรกิจในประเทศไทย

บทที่ 2 แนวคิดของ HRM
   แนวคิดของ HRM
   - ที่มาของคำว่า “Personnel Management”
   - เกิดคำว่า “Human Resource Management”
   - มุมมองและขอบเขตของ HRM
   - ศาสตร์ของการจัดการใน HRM
   - วิวัฒนาการของหน้าที่ HR
   - HRM ในประเทศไทย

บทที่ 3 แก่นแท้ของการจัดการทุนมนุษย์
  3.1 แนวคิดของทุนมนุษย์
   ทุนมนุษย์ (Human Capital)
   - จุดเริ่มต้นของแนวคิด
   - การให้ความหมายของทุนมนุษย์
   - ปรับแนวคิดสู่วิธีการใหม่
   - ทุนมนุษย์ : วงจรข้อมูลสู่คุณค่า
   - ทุนมนุษย์ในการบริหาร HR ของไทย
- นิยามทุนมนุษย์ : บทสรุป
  3.2 จุดมุ่งของทุนมนุษย์
   จุดมุ่งของทุนมนุษย์
   วิวัฒนาการจุดมุ่งทุนมนุษย์ในบริบทของ HR
   - วิวัฒนาการของจุดมุ่งทางกลยุทธและบทบทของ HR
   - การสร้างคุณค่า HR ต่อธุรกิจ
   - โมเดล HCM เชื่อมโยงสู่ HR Scorecard
   แนวคิดในการวัดมูลค่าทุนมนุษย์
   - แนวคิดเริ่มแรกของการวัดมูลค่าทุนมนุษย์
   - วิธีการที่ธุรกิจนิยมใช้ในการวัดประสิทธิผล HR
   - ความตระหนักรับผิดชอบในการวัดทุนมนุษย์
    อนาคตที่ควรมุ่งไปของการจัดการทุนมนุษย์
  3.3 การจัดการทุนมนุษย์
    การจัดการทุนมนุษย์
    การจัดการทุนมนุษย์ : สร้างมูลค่าเพิ่มจากทุนมนุษย์
   - การนิยาม HCM
   จุดประสงค์ องค์ประกอบและกระบวนการของ HCM
   - จุดประสงค์ของ HCM
   - องค์ประกอบของ HCM
   - กระบวนการของ HCM
   วิธีการของ HCM
   - โรดแมปทั่วไป : HCM Model
   - โมเดลการจัดการสินทรัพย์ความรู้
   - แผนที่คุณค่า HCM
   -10 ขั้นตอนเพื่อความสำเร็จใน HCM
   - การเดินทางสู่ HCM
  3.4 การวัดการจัดการทุนมนุษย์
    การวัดการจัดการทุนมนุษย์
    ความหมายของการวัด
      - การวัดคืออะไร?
    มิติของการวัด
   วิธีการวัดที่ธุรกิจนิยมใช้
      - วิธีการวัดทุนมนุษย์
      - 7 ขั้นตอนของมาตรการวัดที่ดี
   โมเดลของการวัด HCM
     - ดัชนีวัดทุนมนุษย์ (Human Capital Index (HC Index)
     - เมทริกซ์คุณค่า HCM (The HCM Value Matrix)
     - วาระใหม่ของ HR เชิงธุรกิจ : 56 รายการ
       ตรวจสอบ HRM ที่มีประสิทธิภาพ
     - การวัด ROI ของทุนมนุษย์
     - HR Scorecard
   งานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวัด HCM
     - HCM กับกลยุทธธุรกิจ
     - การวัด HCM: ปัจจัยแลดัชนีชี้วัด
     - ตัวอย่างความสำเร็จการวัด HCM ที่ RBS

บทที่ 4 การสังเคราะห์โมเดลใหม่การจัดการและการวัดทุนมนุษย์
   การสังเคราะห์โมเดลใหม่การจัดการและการวัดทุนมนุษย์
   - บริบทแรก ธุรกิจอนาคต : ความท้าทายและแรงกดดันต่อการบริหาร HR
   - บริบทที่สอง แนวคิดและทฤษฎี HCM
   - บริบทที่สาม การจัดการและการวัดทุนมนุษย์
   - บริบทที่สี่ โมเดลใหม่ของการจัดการและการวัดทุนมนุษย์สำหรับธุรกิจในประเทศไทย

บทสรุป ความท้าทายของ HCM สู่อนาคต

ภาคผนวก 
ก. ภาพรวมการวิจัย
   ข. คุณลักษณะของผู้ตอบแบบสอบถาม
   ค. การวิเคราะห์ทางสถิติด้านการปรับใช้วิธีการของการจัดการทุนมนุษย์
   ง. ลำดับความสำคัญของขอบเขตงาน HCM
   จ. สิ่งที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ในการวัด HCM
อ้างอิง


เจาะ DNA ธุรกิจครอบครัวไทย โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ปีที่ 5 ฉ.2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2552 ได่้ติดต่อขอให้ผมส่งบทความเผยแพร่ ทำให้มีโอกาสค้นงานวิจัยเรื่องธุรกิจครอบครัวไทย ที่ได้ทำไว้ในปีที่ผ่านมา มอบให้ทางกองบรรณาธิการพิจารณาเผยแพร่ ตามที่เห็นสมควร

สนใจอ่านได้ครับ (ยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบบทความทางวิชาการมาก่อนเพราะไม่มีเวลาปั้นในรูปแบบนี้ เพราะสนใจและชอบที่จะพิมพ์เป็นรูปเล่มกึ่งวิชาการ ในลักษณะ Commercial research report )

ดร.ดนัย เทียนพุฒ






สรุปผลการวิจัยตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา

สรุปผลการวิจัย

การวิจัยเชิงกรณีศึกษาในครั้งนี้สังเคราะห์ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัทผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง ได้ดังนี้
ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย จะมีองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบคือ 1) ทุนภาวะผู้นำ (Leadership Capital) 2) ทุนความสัมพันธ์ (Relational Capital) 3) ทุนองค์การ (Organizational Capital) และ 4) ทุนทรัพยากรบุคคล (Human Resource Capital) โดยแต่ละองค์ประกอบหลักจะมีองค์ประกอบย่อยและดัชนีบ่งชี้หรือ KPIs ดังนี้




1.ทุนภาวะผู้นำ มีองค์ประกอบย่อยคือ
(1)วัฒนธรรมเชิงคุณค่า
(2)ความภูมิใจในประสิทธิภาพขององค์การ
ดัชนีบ่งชี้หรือ KPIs
- มูลค่าเพิ่มต่อพนักงาน
- ระดับการควบคุมภายในและจริยธรรม
- ผลสำรวจเรื่องภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์
- ผลกำไรต่อเป้าหมาย
2.ทุนความสัมพันธ์มีองค์ประกอบย่อยคือ
(1)ความสัมพันธ์กับลูกค้า
(2)ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมค้า
(3)ความสัมพันธ์กับพนักงาน
(4)ความพึงพอใจและจงรักภักดีต่อองค์การของลูกค้า
(5)การรักษามูลค่าเพิ่มในบริการ

ดัชนีบ่งชี้หรือ KPIs
- ระดับการสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์ภายนอก
- มูลค่าเพิ่มต่อลูกค้า
- มูลค่าตลาดต่อพนักงาน
- ส่วนแบ่งตลาด
- ระดับความจงรักภักดีในตราสินค้า
- ระดับความคาดหวังต่อการบริการลูกค้า
- จำนวนช่องทางจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี
- จำนวนลูกค้าบ่นต่อว่าลดลง
- เปอร์เซ็นต์การส่งคืนสินค้าลดลง

3.ทุนองค์การมีองค์ประกอบย่อยคือ
(1)กระบวนการเรียนรู้ในการผลิต
(2)ทรัพย์สินทางปัญญา (ตราสินค้า,
เครื่องหมายการค้า,ซอฟท์แวร์)
(3)คุณสมบัติเฉพาะผลิตภัณฑ์
(4)ฐานข้อมูลทางความรู้

ดัชนีบ่งชี้หรือ KPIs
- กำไรที่ได้จากการดำเนินธุรกิจใหม่
- มูลค่ารวมของสินทรัพย์
- มีผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมาในแต่ละปี
-เปอร์เซ็นต์การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา
- ต้นทุนการผลิตต่อ ตรม.อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
- ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อรายการต่อปี
-อัตราการปรับใหม่และพัฒนาด้านต้นทุน
-อัตราการปรับสู่มาตรฐานคุณภาพในอุตสาหกรรม

4.ทุนทรัพยากรบุคคล มีองค์ประกอบดังนี้
(1)ความเชี่ยวชาญเฉพาะ
(2)การริเริ่มและการเรียนรู้
(3)การจัดการความรู้ให้เพิ่มขึ้น
(4)การฝึกอบรมและพัฒนา
(5)สวัสดิการและการดูแลพนัก

ดัชนีบ่งชี้หรือ KPIs
- มูลค่าเพิ่มต่อพนักงาน
- ค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรมต่อ ค่าใช้จ่ายบริหาร
- ค่าใช้จ่ายทั่วไปด้านการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน
- ค่าใช้จ่ายในการจัดหาและทดแทน ตำแหน่ง
- จำนวนครั้งในการฝึกอบรม
- ผลการประเมินผลจากข้อสอบ
- วิธีการประเมินผลของผลตอบแทนต่างๆ
-ผลการประเมินผลพนักงาน
- ดัชนีความพึงพอใจของพนักงาน

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants
Create Date : 22 สิงหาคม 2549

รายงานวิจัยเรื่องตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา-วิธีการวิจัย

วิธีดำเนินการวิจัย






วิธีดำเนินการศึกษา


ได้สร้างและพัฒนาตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย โดยการนำวิสัยทัศน์ ภารกิจที่แปลไปสู่ยุทธศาสตร์ตามตัวแบบยุทธศาสตร์ (Strategy Model) ของบริษัทผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง มาสังเคราะห์ตามแนวทางของเฮง (Heng, 2001) ซึ่งเป็นเครื่องมือการจับคู่จากมาตรฐาน ISO 9000 กับตัวแบบทุนทางปัญญา เพื่อกำหนดรูปแบบเพื่อการทำนาย (Predicted Pattern)


การเก็บรวบรวมข้อมูลกรณีศึกษา 
เป็นการสร้างและพัฒนาตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทยในลักษณะรูปแบบเชิงประจักษ์ (Empirically Based Pattern) โดยการออกแบบโปรโตคอล (Protocol) ที่ช่วยสร้างวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้ความเป็นไตรวิธีการ (Triangulation) ในการเก็บข้อมูลซึ่งประกอบด้วย การสัมภาษณ์แบบเปิดกับการดำเนินงานของบริษัทฯ จากบุคคลที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 26 คน แบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ประกอบของทุนทางปัญญาจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 17 คนโดยมีข้อคำถาม 2 ส่วน โดยส่วนแรกเกี่ยวกับองค์ประกอบของทุนทางปัญญาใน 3 องค์ประกอบคือ ทุนมนุษย์ ทุนความสัมพันธ์ และทุนโครงสร้าง ในแบบมาตราประมาณค่า 5 ตัวเลือก จำนวน 53 ข้อคำถาม และส่วนที่สองเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทเปรียบเทียบกับคู่แข่งสำคัญในอุตสาห-กรรม แบบมาตราประมาณค่า 10 ตัวเลือก จำนวน 12 ข้อคำถาม ส่วนการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามใช้การตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านและทดลองใช้ (Try Out) กับหัวหน้าแผนกผลิตและที่ปรึกษาหัวหน้าแผนกผลิตของกรณี (Case) และระดับบริหารอีก 6 คนเป็นผู้ตรวจ-สอบข้อมูลในภายหลัง ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีค่าความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามส่วนแรกเท่ากับ 0.804 ส่วนที่สองเท่ากับ 0.905
การสำรวจความต้องการของลูกค้าหรือผู้แทนจำหน่าย (จำนวน 17 ราย) โดยผู้วิจัยดำเนินการร่วมกับฝ่ายบริหารของบริษัทฯ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมกับบริษัททั้งการดำเนิน-งานและกิจกรรมต่างๆ ในช่วงการวิจัย การศึกษาเอกสารบริษัท เช่น เอกสารคู่มือคุณภาพ คู่มือผลิตภัณฑ์ คำบรรยายลักษณะงาน โครงสร้างและหน้าที่ความรับผิดชอบ รายงานผลประกอบการบริษัท รวมถึงการยืนยันข้อมูลในกรณีที่มีข้อสงสัยหรือประเด็นที่ต้องการความชัดเจนกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญในระดับบริหารที่รับผิดชอบ


การวิเคราะห์กรณีศึกษา
ผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิเคราะห์กรณีศึกษาที่เรียกว่า การเปรียบเทียบรูปแบบ (Pattern Matching) โดยการนำตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาที่เป็นรูปแบบเพื่อการทำนาย (Predicted Pattern) กับรูปแบบเชิงประจักษ์ (Empirically Based Pattern) มาเปรียบเทียบระหว่างองค์ประกอบที่เป็นองค์ประกอบหลักในตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา สังเคราะห์ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาที่มีลักษณะร่วมกัน ผลจากการสังเคราะห์ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาได้องค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบคือ 1) ทุนภาวะผู้นำ 2) ทุนความสัมพันธ์ 3) ทุนกระบวนการ 4) ทุนองค์การ และ 5) ทุนทรัพยากรบุคคล แล้วทำการวิเคราะห์ข้ามกรณีศึกษา (Cross-Case Analysis) เพื่อเป็นการยืนยันการวิเคราะห์ (Verification) ระหว่างตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย กับการวัดทุนทางปัญญาสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย : 10 กรณี-ศึกษา โดยสังเคราะห์หาลักษณะร่วมขององค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยในตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย ได้องค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบคือ 1) ทุนภาวะผู้นำ 2) ทุนความสัมพันธ์ 3) ทุนองค์การ และ 4) ทุนทรัพยากรบุคคล สุดท้ายทำการสังเคราะห์โดยวิธีการวิเคราะห์ความเหมาะสมของดัชนีบ่งชี้ (Meta-Indicators Analysis) จากดัชนีบ่งชี้ (Indicators) หรือดัชนีวัดผลสำเร็จ (Key Performance Indictors: KPIs) ของสแกนเดีย เนวิเกเตอร์ กับดัชนีวัดผลสำเร็จ (KPIs) ตามภารกิจของบริษัทผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง ใน 4 ลักษณะคือ 1) ความเกี่ยวข้อง (Relevant) 2) การย่อสรุป (Precise) 3) ไม่มีขนาด (Dimensionless) (ความชัดเจนในขอบเขต) และ 4) ง่ายต่อการวัด (Easy to Measure)

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants
Create Date : 21 สิงหาคม 2549

รายงานวิจัยเรื่องตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา

จุดประกายแห่งการวิจัย

ความคิดในการวิจัยของผู้วิจัยเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงแรกในปี พ.ศ.2547 เมื่อเข้ามาศึกษาในหลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต โดยมีกรอบความคิดในเรื่องของ ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) เป็นกรอบทางความคิด (Conceptual Framework) และเมื่อทำการศึกษามากขึ้นจากหนังสือ บทความและงานวิจัยทางด้านทุนทางปัญญาและการจัดการความรู้ (Intellectual Capital and Knowledge Management) พบประกายแห่งเส้นสายสู่การวิจัยในเรื่องทุนทางปัญญาที่เจิดจ้ามากยิ่งขึ้น (Stewart, 1991; Edvinsson and Malone, 1997; Edvinsson, 2002; Sullivan, 2000; Sveiby, 1997)
ในปัจจุบันสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) หรือทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) (Edvinsson and Malone, 1997) เป็นหัวใจสำคัญที่ผลักดันให้เกิดนวัตกรรมและความได้เปรียบในการแข่งขันสำหรับเศรษฐกิจแห่งความรู้ ซึ่งจะเห็นว่าทุนทางปัญญาหรือสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้มีมูลค่าต่อธุรกิจสูงมาก หากพิจารณาเปรียบเทียบโดยดูได้จากมูลค่าตลาด (Market Value) (Teece, 2000)
สวีบาย (Sveiby, 1997) ได้วิเคราะห์และสรุปผลระหว่างสัดส่วนของสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้กับมูลค่าตลาดของบริษัทในปี 2538 ไว้ว่าบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง (High Technologies) เช่น ไมโครซอฟท์ อินเทล จีเนนเทค และธุรกิจอิเล็คทรอนิกส์ มีสัดส่วนของสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ต่อมูลค่าตลาดต่ำ ขณะที่ธุรกิจสื่อ เช่น รอยเตอร์ ธุรกิจจัดการความสูญเสีย เช่น เคนโทกิล ธุรกิจด้านคอนซูเมอร์ เช่น โคคา-โคลา ยูนิลีเวอร์ ฮิวโก-บอสส์ อาร์นอทส์ มีสัดส่วนของสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ต่อมูลค่าตลาดสูง ส่วนธุรกิจเวชภัณฑ์ยา เช่น แอส-ตรา แกล็คโซสมิทช์ไคน์ มีสัดส่วนของสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้สูงมากกว่าธุรกิจด้านบริการ เช่น วอลมาร์ท แมคโดนัลด์ ธนาคารและบริการทางการเงิน เช่น ซิตี้คอร์ป เอเม็ก ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เช่น ทรัพยากรพลังงาน มีมูลค่าสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ใกล้กับมูลค่าตลาด และโรงงานอุตสาหกรรมรวมถึงอุตสาหกรรมรถยนต์มีสัดส่วนที่ต่ำในสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ต่อมูลค่าตลาด
ในการกำหนดองค์ประกอบของทุนทางปัญญาโดยเฉพาะที่ เอ็ดวินส์สัน (Edvinsson, 1997) บุกเบิกให้ กับสแกนเดีย เอเอฟเอส (Skandia AFS) ในปี 2537 โดยเรียกว่า สแกนเดีย เนวิเกเตอร์ (Skandia Navigator) ถือเป็นตัวแบบทั่วไป (General Model) ที่พัฒนาขึ้นในช่วงแรก และมักจะนิยมอ้างถึงซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบของขอบเขตด้านลูกค้า (Client Scope) ขอบเขตด้านการเงิน (Financial Scope) ขอบเขตด้านคน (Human Scope) ขอบเขตด้านกระบวนการ (Process Scope) และขอบเขตการปรับใหม่ (Renewal Scope) ส่วนตัวแบบที่พัฒนาต่อมาเป็น ตัวแบบที่เกี่ยวข้อง (Related Model) เป็นลักษณะทั้งสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้และสินทรัพย์ที่จับต้องได้ เช่น ตัวแบบของบริษัทดาวเคมีคอล (Dow Chemical Model, 1994) จะมีองค์ประกอบของทุนมนุษย์ (Human Capital) ทุนองค์การ (Organizational Capital) และทุนลูกค้า (Client Capital)

การอธิบายและการนำไปใช้ของแต่ละประเทศ ซัลลิแวน (Sullivan, 1995) สจ๊วต (Stewart, 1997) รูส์ (Roos, 1998) และอีกหลายๆ ท่านสรุปว่า มีความแตกต่างกันในองค์ประกอบของทุนทางปัญญา พาบลอส (Pablos, 2004) มีการศึกษาในช่วงปี 2537-2546 จาก 20 ประเทศทั่วโลก เช่น ออสเตรเลีย เดนมาร์ก เยอรมัน อินเดีย สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร พบว่าจำเป็นต้องทำความเข้าใจในการพัฒนาบรรทัดฐานที่จะให้ได้สารสนเทศที่เป็นแนวทางในการจัดการ และการวัดทุนทางปัญญา โดยสารสนเทศนี้ต้องมีความเป็นเอกพันธ์ (Homogeneous) และเปรียบเทียบกันได้ (Comparable)
แต่ในบริบทของเศรษฐกิจและสังคมแบบไทย ไพบูลย์ ช่างเรียน (2548) อธิบายวัฒนธรรมกับการบริหารของไทยว่ามีลักษณะเฉพาะได้แก่ การยึดถือตัวบุคคลโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งเป็นการรวมกันอยู่โดยไม่มีผลประโยชน์ที่กำหนดไว้แน่นอน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ ไม่มีกำหนดกฏเกณฑ์ ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ ขณะที่การบริหารได้ขยายตัวสลับซับซ้อนมากขึ้น แต่การรวมกลุ่มกันในรูปแบบเป็นการเฉพาะบุคคล แบบระบบวงศาคณาญาติ หรือตามลักษณะโครงสร้างของวัฒนธรรมทางการเมืองการปกครองแบบเดิมยังมีอิทธิพลอยู่ และโครงสร้างการบริหารของไทยมีลักษณะของการยึดตัวบุคคลเป็นหลัก ในขณะเดียวกันมีลักษณะของการรวมอำนาจเข้าหาตัวบุคคลอีกด้วย ดังนั้นเทคนิคหรือหลักเกณฑ์การบริหารต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาในวัฒนธรรมหนึ่งหรือสังคมหนึ่ง อาจจะไม่เหมาะสมกับอีกสังคมหนึ่งก็ได้ หรือเมื่อนำหลักเกณฑ์วิธีการต่างๆ มาใช้แล้ว อาจจะต้องเปลี่ยนแปลงไปหรือดัดแปลงให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมที่ยังคงมีอิทธิพลอยู่ทั่วไปในสังคม ฮอฟสเตด (Hofstede, 1980; 2005) ทำการวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาติ (National Cultures) พบว่าจะมีมิติทางวัฒนธรรมอยู่ 5 มิติคือ 1) ความเป็นปัจเจกบุคคล กับการรวมกลุ่ม (Individualism and Collectivism) 2) ระยะของอำนาจ (Power Distance) 3) การหลีกหนีความไม่แน่นอน (Uncertainly Avoidance) 4) ความเป็นบุรุษกับสตรี (Masculinity and Femininity) และ 5) การมุ่งเน้นระยะสั้นกับระยะยาว (Long-and Short-Term Orientation) และสรุปว่าประเทศที่แตกต่างกันจะมีสถาบันที่แตกต่างกัน เช่น รัฐบาล กฎหมาย สมาคม ธุรกิจ ระบบโรงเรียนและโครงสร้างครอบครัว การทำความเข้าใจสถาบันต้องเข้าใจวัฒนธรรมและเข้าใจสมมติฐานทางวัฒนธรรมภายในของสถาบัน ผลต่อเนื่องที่สำคัญของสิ่งนี้คือ เราจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิถีของคนในประเทศ ทั้งด้านความคิด ความรู้สึกและการกระทำโดยนำเข้าสถาบันจากต่างประเทศ (Hofstede, 2005)
ฉะนั้นตัวแบบทุนทางปัญญาที่ผู้วิจัยได้ศึกษาทั้งตัวแบบทั่วไปและตัวแบบที่เกี่ยว-ข้อง รวมถึงการวิจัยในหลายๆ ประเทศ พบว่ามีองค์ประกอบอยู่หลายๆ องค์ประกอบ และยังรวมถึงองค์ประกอบ เช่น การวิจัยการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญา ทุนมนุษย์ โครงสร้างองค์การ วิธีการทำงาน การตลาด ตราสินค้า ลูกค้า และเครือข่ายซัพพลายเออร์ รวมทั้งซอฟท์แวร์ (Stewart, 2001; Sullivan, 2000; Edvinsson, 2002; Bontis, 1996) จึงทำให้มีความสับสน ยุ่งยากในการนิยาม การจัดการ และการเก็บสารสนเทศที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก การวัดมูลค่าซึ่งเป็นการคำนวณทางการเงินหรือทางบัญชี การรายงานจึงผิดพลาดและไม่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นสินทรัพย์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ธุรกิจ

ตัวแบบทุนทางปัญญาของนักคิดทางตะวันตก เมื่อจะนำมาปรับใช้ในบริบทของเศรษฐกิจและสังคมไทยที่มีความเฉพาะของวัฒนธรรมการบริหารแบบองค์การธุรกิจไทย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ขององค์ประกอบทุนทางปัญญาให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมการบริหารของธุรกิจไทย อันจะนำไปสู่การพัฒนาความเป็นไปได้ในการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ ที่สอดคล้องกับมุมมองด้านคุณค่าของวัฒนธรรมในองค์การสำหรับองค์การที่มีประสิทธิภาพหรือมีการจัดการให้มีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งไม่สามารถนำทฤษฎีการจัดการทั้งหมดจากต่างประเทศนำไปสู่การปฏิบัติ (Komin, 1991) ผู้วิจัยจึงสนใจพัฒนาตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทยโดยศึกษาเฉพาะกรณีบริษัทผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง ซึ่งเป็นลักษณะการวิจัยเชิงกรณีศึกษา (Case Study Research) เพื่อวิจัยปรากฏการณ์ร่วมสมัยในบริบทของสภาพธุรกิจที่แท้จริง (Yin, 1994)

คำถามที่ผู้วิจัยสนใจ

การศึกษาในเรื่อง ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัทผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง (A Strategic Intellectual Capital Model for Thai Enterprises: A Study of Construction Accessories Company)

มีคำถามที่ผู้วิจัยสนใจโดยผู้วิจัยมีคำถามหลักในการวิจัยว่า
ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาจะมีตัวแบบ (Model) เป็นอย่างไรจึงจะนำไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับการบริหารของบริษัทผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง

โดยมีคำถามย่อยจากคำถามหลักในการวิจัยว่า
1) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factors : KSFs) หรือความสามารถ(Competencies) อะไรที่จะมีในองค์ประกอบของตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาที่สอดคล้องสำหรับบริษัทผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง
2)ดัชนีบ่งชี้ (Indicators) ในปัจจัยแห่งความสำเร็จหรือความสามารถอะไรที่สัมพันธ์กับองค์ประกอบในตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ที่เหมาะสำหรับ บริษัทผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

ผู้วิจัยกำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษาไว้ดังนี้
1)สร้างและพัฒนาตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา ที่จะใช้อธิบายความได้เปรียบในการแข่งขันที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมการบริหารของธุรกิจไทย

2) พัฒนาปัจจัยแห่งความสำเร็จหรือความสามารถ ที่มีดัชนีบ่งชี้ปัจจัยแห่งความสำเร็จหรือความสามารถที่ครอบคลุมเพียงพอสำหรับองค์ประกอบหลักในตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา

3) นำเสนอวิธีการหรือแนวทางนำตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาที่สร้างและพัฒนาขึ้นไปสู่การปฏิบัติจนกระทั่งมีแนวทางการพัฒนาธุรกิจไทยให้เป็นองค์การที่จัด
การความรู้ (Knowledge Management Organization)

ขอบเขตของการศึกษา

ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยไว้ 3 ขอบเขตด้วยกันคือ 1. ขอบเขตเนื้อหา 2. ขอบเขตผู้ให้ข้อมูล และ 3. ขอบเขตระยะเวลา โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ขอบเขตเนื้อหา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกรณีศึกษา (Case Study)เพื่อสร้างและพัฒนาตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาที่จะใช้อธิบายความได้เปรียบในการแข่งขันที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมการบริหารของธุรกิจไทย พร้อมปัจจัยแห่งความสำเร็จหรือความสามารถที่มีดัชนีบ่งชี้ที่ครอบคลุมเพียงพอสำหรับองค์ประกอบหลักในตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา

2. ขอบเขตผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยได้กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาไว้ดังนี้
1)ประชากรในการวิจัย
การวิจัยเชิงกรณีศึกษาครั้งนี้ มีประชากรเป็นธุรกิจไทยที่ผลิตและจำหน่ายกระเบื้องยางปูพื้น (PVC Vinyl Tiles) ขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย ซึ่งภายใต้บริบทและวัฒนธรรมการบริหารแบบไทย อุตสาหกรรมอื่นคงไม่แตกต่างกันมากนัก
2)กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย ผู้วิจัยได้เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเลือกบริษัท
ผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง ที่มีลักษณะตามเกณฑ์ดังนี้
(1) เป็นบริษัทผู้นำตลาดหรือมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในตลาดด้านผลิตภัณฑ์กระเบื้องยางปูพื้น
(2) เป็นบริษัทที่สามารถดำเนินกิจการมาตั้งแต่เริ่มแรกและสามารถผ่านพ้นวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
(3) เป็นบริษัทที่ผู้วิจัยสามารถควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน (Intervening Variable) และลดความคลาดเคลื่อนได้ เช่น ความร่วมมือและความจริงใจในการเปิดเผยข้อมูล ความจริงจังในการตอบแบบสอบถามและการให้สัมภาษณ์ เป็นต้น
(4) เป็นบริษัทที่มีผู้ใฝ่รู้ต้องการหาคำตอบอย่างจริงจังที่สามารถทำได้ตามสภาพที่แท้จริง และนำระบบควบคุมคุณภาพ เช่น ISO 9001:2000 มาใช้ผลักดันทิศทางองค์การ พร้อมทั้งจัดทำระบบวัดผลกลยุทธ์ด้วยดัชนีวัดผลสำเร็จ (KPIs)

3) ผู้ให้ข้อมูล กรณีศึกษาในการวิจัยครั้งนี้คือ บริษัท ผลิตอุปกรณ์ก่อสร้างซึ่งเริ่มก่อตั้งเมื่อ 6 มิถุนายน 2511 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท มีพนักงาน 309 คน กำลังการผลิตรวม 5 ล้านตารางเมตรต่อปี และมีคุณกนิษฐ์ สารสิน ทำหน้าที่ตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป
ผู้ให้ข้อมูลในกรณีศึกษาจะเรียกว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) (Yin, 1984, 2003) ซึ่งเป็นบุคคลระดับบริหาร ประกอบด้วย ผู้จัดการทั่วไปและผู้จัดการฝ่าย รวม 6 คน และบุคคลที่เป็นระดับหัวหน้าแผนก จำนวน 20 คน รวมเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวนทั้งสิ้น 26 คน

3. ขอบเขตระยะเวลา การวิจัยในครั้งนี้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2548 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2549 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 5 เดือน 19 วัน

ข้อจำกัดของการวิจัย

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกรณีศึกษา (Case Study Research) โดยวิธีการที่เรียกว่า กรณีศึกษาเชิงอธิบาย (Explanatory Case Study) ซึ่งในการออกแบบการวิจัยได้จัดทำในลักษณะของ “ความเป็นไตรวิธีการ” (Triangulation) (Yin, 1984) แต่กรณี (Case) คือบริษัท ผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง ดำเนินกิจการมา 37 ปี ทำให้การศึกษาสืบค้น (Inquiry) ในช่วงก่อตั้งกิจการจำเป็นต้องศึกษาเพียงตามข้อมูลเท่าที่ปรากฏเชิงประจักษ์ (Empirical Data)

ขณะเดียวกันก็มีข้อจำกัดในการนำไปใช้ประโยชน์หรืออ้างอิงทั่วไป (Generali-zation) ไปยังกลุ่มประชากรอื่นๆ หากบริษัทอื่นต้องการนำผลการศึกษาที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา จำเป็นต้องคำนึงถึงความแตกต่างในบริบทของบริษัท ผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง กับบริษัทที่จะใช้ผลด้วย

จุดยืนด้านจริยธรรมในการวิจัย

จริยธรรมในการวิจัย (Ethical Research) หรือจุดยืนด้านจริยธรรม (Ethical Standpoint) เป็นสิ่งที่สำคัญและต้องให้ความตระหนักถึงอย่างยิ่งใหญ่มากโดยเฉพาะในการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
ในการวิจัยเชิงกรณีศึกษา (Case Study Research) เป็นวิธีการหนึ่งในการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยให้สัตยาบันในการทำการศึกษาครั้งนี้

1. การไม่เปิดเผย การลดความเสี่ยงหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) หรือสิ่งที่สาธารณชนและวงการวิชาการไม่มีสิทธิที่จะรู้สำหรับการศึกษาในครั้งนี้

2. การลดอคติและความรู้สึกส่วนบุคคลให้มากที่สุดของผู้วิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความและการสรุปข้อค้นพบจากการศึกษา

3. จะมีการธำรงไว้ซึ่งความซื่อสัตย์ในข้อมูลที่ศึกษาในทุกๆ ด้านเกี่ยวกับเรื่องที่
ศึกษาทั้งหมด

คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยในครั้งนี้มีคำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัยดังนี้

1. สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) หมายถึง สิ่งที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบทางกายภาพ เช่น การวิจัยและพัฒนา การโฆษณา ตราสินค้า สิทธิบัตร ความสามารถเฉพาะบุคคล แต่สามารถสร้างสิ่งที่มีคุณค่ากับบริษัท ซึ่งบริษัทไม่อาจจะควบคุมได้ทั้งหมด
2. ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital : IC) หมายถึง ความรู้ที่ปรับเปลี่ยนสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) ให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้นี้เป็นผลรวมของสิ่งต่อไปนี้ ซึ่งเรียกว่าองค์ประกอบของทุนทางปัญญาคือ
1) ทุนมนุษย์ (Human Capital) หมายถึง ความเชี่ยวชาญเฉพาะ การริเริ่ม และการเรียนรู้และจัดการความรู้ให้เพิ่มขึ้น
2) ทุนความสัมพันธ์ (Relational Capital) หมายถึง ความสัมพันธ์กับลูกค้า ผู้ร่วมค้า หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
3) ทุนโครงสร้าง (Structural Capital) หมายถึง สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ตราสินค้า ลิขสิทธิ์ ความลับทางการค้า ระเบียบวิธี ซอฟท์แวร์ เอกสารและรูปแบบอื่นๆ ที่อยู่กับองค์การ

3. ความสามารถ (Competency) หมายถึง สิ่งที่บ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญ ความเก่ง เช่น เทคโนโลยี การริเริ่มสิ่งใหม่หรือการบูรณาการทั้งเทคโนโลยีและการริเริ่มสิ่งใหม่ จนทำให้เกิดเป็นความแตกต่างจากคู่แข่งขันจนกระทั่งคู่แข่งไม่สามารถเลียนแบบได้ รวมถึงสิ่งที่บุคคลภายนอกรับรู้ว่าเป็นสิ่งบ่งบอกถึงความสำเร็จของธุรกิจ

4. ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา (Strategic Intellectual Capital Model : SICM)
ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา (Strategic Intellectual Capital Model : SICM) หมายถึง ตัวแบบการสร้างตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาตามแนวคิดเชิงตรรก (Logical Model) ที่มีตรรกภายในตัวแบบดังนี้

ตัวแบบ (Model) เป็นการบรรยายหรือกำหนดสิ่งที่เป็นกุญแจสำคัญสำหรับทำความเข้าใจว่า บริษัทหรือองค์การมีความรู้ที่จะเปลี่ยนสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ไปยังคุณค่าได้อย่างไร โดยจะมีคุณลักษณะหลัก เช่น 1) ความเป็นระบบ (Systematic) 2) ระบบเปิด (Open) 3) พลวัต (Dynamic) 4) มีลักษณะทำให้เหมาะได้ (Adaptive) และ 5) เป็นนวัตกรรม (Innovation)
ตรรกภายในตัวแบบ (Model of Internal Logic) เป็นความพยายามที่จะอธิบายความเชื่อมโยงหรือเป็นความอิสระพื้นฐานซึ่งมีอยู่ระหว่างทุนที่เป็นองค์ประกอบของตัวแบบ
ภาพที่ 1 แนวคิดเชิงตรรกของ SICM


ดังนั้นตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาหรือ SICM จึงเป็นเครื่องมือการจัดการธุรกิจที่สามารถใช้เพื่อพัฒนาและกำกับติดตามว่า บริษัทได้มีวิธีดำเนินการในการใช้ความสามารถและทรัพยากรความรู้ที่มีอยู่เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มขึ้น โดย SICM จะประกอบด้วย
1) องค์ประกอบหลักอย่างน้อย 3 องค์ประกอบคือ ทุนมนุษย์ ทุนความความสัมพันธ์และทุนโครงสร้าง
2) ในแต่ละองค์ประกอบหลักจะมีความสามารถ (Competencies) และดัชนีบ่งชี้ (Indicators) หรือดัชนีวัดผลสำเร็จ (Key Performance Indicators: KPIs) ของความสามารถในแต่ละองค์ประกอบนั้นๆ

5. กรณีศึกษา (Case Study) หมายถึง การสืบสวนเชิงประจักษ์ที่ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ร่วมสมัยภายในบริษัทที่เป็นสภาพจริงของบริษัทที่เลือกเป็นกรณี (Case)

6. ความเป็นไตรวิธีการ (Triangulation) หมายถึง การใช้แหล่งข้อมูลในการศึกษาหลายแหล่ง การใช้มุมมองหลากมิติในการแปลความชุดของข้อมูลเดียวและการใช้วิธีการหลากหลายในการวิเคราะห์และสรุปผลโดยความเป็นไตรวิธีการจะมีในหลายด้าน เช่น
1) การผสมในรูปแบบของข้อมูล (Data Triangulation) ซึ่งเป็นการใช้แหล่งของข้อมูลที่หลากหลายในการศึกษา

2) การผสมของวิธีวิทยาการ (Method Triangulation) เป็นการใช้วิธีการศึกษาข้อมูลด้วยหลากหลายวิธี เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การมีส่วนร่วมและเอกสารต่างๆ เป็นต้น
3) การผสมของทฤษฎี (Theory Triangulation) เป็นการใช้มุมมองที่ทวีคูณเพื่อแปลความชุดของข้อมูลในกรณีศึกษา
4) การผสมของผู้ศึกษา (Investigator Triangulation) เป็นการใช้ทรัพยากรผู้ให้ข้อมูลหรือผู้สืบค้นที่แตกต่างอย่างหลากหลายเพื่อการศึกษากรณีศึกษา

ประโยชน์ของการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยเห็นว่าจะก่อประโยชน์ในหลายๆ ประการที่จะนำไปสู่ความสำคัญต่อธุรกิจไทยโดยเฉพาะดังนี้
1. เป็นการพัฒนาตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา ซึ่งเป็นองค์ความรู้ของธุรกิจไทยในบริษัทผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง ให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 

2. ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาจะมีองค์ประกอบของปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factors : KSFs) หรือความสามารถ (Competencies) พร้อมดัชนีบ่งชี้ปัจจัยแห่งความสำเร็จ หรือความสามารถที่จะช่วยส่งเสริม หรือสนับสนุนความได้เปรียบในการแข่งขันทางยุทธศาสตร์ของบริษัทผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง

3. สามารถนำตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาไปพัฒนาต่อยอดความรู้ที่เป็นพื้นฐานสำคัญต่อธุรกิจไทยที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่การก้าวเป็นองค์การแห่งความรู้ 

4. ผู้ที่ศึกษาและนักปฏิบัติด้านการบริหารทุนมนุษย์หรือบริหารทรัพยากรบุคคลสามารถนำตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและสร้างความชัดเจนในองค์การเกี่ยวกับองค์ความรู้ในด้านทุนทางปัญญา

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants
 

Create Date : 21 สิงหาคม 2549


ผลสรุปรายงานการวิจัย ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา

รายงานวิจัยเรื่อง
ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัทผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง
A Strategic Intellectual Capital Model for Thai Enterprises :
A Study of Construction Accessories Company
โดย
ดร. ดนัย เทียนพุฒ
DR. DANAI THIEANPHUT

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนาตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา ที่จะใช้เป็นสิ่งอธิบายความได้เปรียบในการแข่งขันที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมการบริหารของธุรกิจไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงกรณีศึกษา ธุรกิจไทยที่ผลิตและจำหน่ายกระเบื้องยางปูพื้นขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย มีบริษัทผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง เป็นกรณีในการศึกษากรณีได้สร้างและพัฒนาตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญารูปแบบเพื่อการทำนายที่ได้มาจากการสังเคราะห์วิสัยทัศน์ ภารกิจของบริษัทฯ ตามแนวทางของ Heng และเก็บรวบรวมข้อมูลกรณีเพื่อสร้างรูปแบบเชิงประจักษ์โดยการออกแบบโปรโตคอล และความเป็นไตรวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูลและมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 26 คน
วิธีการวิจัยได้ดำเนินการพัฒนาตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาจากการเปรียบ-เทียบระหว่างรูปแบบเพื่อการทำนายกับรูปแบบเชิงประจักษ์โดยการสังเคราะห์หาลักษณะร่วมขององค์ประกอบหลักและย่อย การวิเคราะห์ข้ามกรณีศึกษาเพื่อยืนยันองค์ประกอบหลักและย่อยของทุนทางปัญญากับการวัดทุนทางปัญญาสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย หลังจากนั้นทำการสังเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความเหมาะสมของดัชนีบ่งชี้หรือ KPIs ระหว่างสแกนเดีย เนวิเกเตอร์กับดัชนีวัดผลสำเร็จตามภารกิจของบริษัทฯ

ผลการวิจัยพบว่า ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทยมี 4 องค์ประกอบหลักและย่อย พร้อมดัชนีบ่งชี้ดังนี้

1. ทุนภาวะผู้นำ ประกอบด้วย วัฒนธรรมเชิงคุณค่าและความภูมิใจในประสิทธิภาพขององค์การ
ดัชนีบ่งชี้คือ มูลค่าเพิ่ม/พนักงาน ผลสำรวจเรื่องภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ระดับการควบคุมภายในและจริยธรรม และผลกำไรต่อเป้าหมาย

2. ทุนความสัมพันธ์ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์กับลูกค้าผู้ร่วมค้าและพนักงาน ความพึงพอใจและจงรักภักดีต่อองค์การของลูกค้า
ดัชนีบ่งชี้คือ การสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์ภายนอก มูลค่าเพิ่ม/ลูกค้า มูลค่าตลาด/พนักงาน ส่วนแบ่งตลาด ความจงรักภักดีในตราสินค้า ความคาดหวังต่อการบริการลูกค้า จำนวนช่องทางจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี จำนวนลูกค้าบ่นต่อว่าลดลงและเปอร์เซ็นต์การส่งคืนสินค้าลดลง

3. ทุนองค์การ ประกอบด้วย การเรียนรู้ในการผลิต คุณสมบัติเฉพาะผลิตภัณฑ์ ทรัพย์สินทางปัญญา (ตราสินค้า เครื่องหมายการค้า ซอฟท์แวร์) คุณสมบัติเฉพาะผลิตภัณฑ์ และฐานข้อมูลทางความรู้
ดัชนีบ่งชี้คือ กำไรที่ได้จากการดำเนินธุรกิจใหม่ มูลค่ารวมของสินทรัพย์ มีผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมาในแต่ละปี การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา ต้นทุนการผลิตต่อ ตรม.อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อรายการต่อปี การปรับใหม่และพัฒนาด้านต้นทุน และการปรับสู่มาตรฐานในคุณภาพอุตสาหกรรม

4. ทุนทรัพยากรบุคคล ประกอบด้วย ความเชี่ยวชาญเฉพาะ การจัดการความรู้ให้เพิ่มขึ้น
การริเริ่มและการเรียนรู้และสวัสดิการและการดูแลพนักงาน
ดัชนีบ่งชี้คือ มูลค่าเพิ่ม/พนักงาน ค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรม/ค่าใช้จ่ายด้านบริหาร ค่าใช้จ่ายทั่วไปด้านการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน ค่าใช้จ่ายในการจัดหาและทดแทนตำแหน่ง จำนวนครั้งในการฝึกอบรม การประเมินผลจากข้อสอบ วิธีการประเมินผลของผลตอบแทนต่างๆ การประเมินผลพนักงานและดัชนีวัดความพึงพอใจของพนักงาน

Abstract

The purpose of this research is to create and develop a Strategic Intellectual Capital Model (SICM) that explains competitive advantage within the culture of Thai enterprises. The scope of research population were small and medium Thai enterprises that produced and distributed PVC Vinyl Tiles in Thailand; therefore, the research was based on a case study protocol and triangulation with twenty-six key informants of the Construction Accessories Company.

The Method used in the case study was developed SICM from the Pattern Matching between the predicted pattern and empirically based pattern to identify common and sub-elements of Intellectual Capital (IC). A cross-case analysis was used to ensure external validity. In addition, a meta-indicator analysis was used to confirm KPIs of the SICM firm.

The results show that the SICM consisted of four elements as follow :

1.Leadership capital contains two elements that are cultural values and pride in organizational efficiency.
The indicators are value added per employees, level of ethic and internal control, result of products image survey and profit per target.

2.Relational capital contains five elements, namely customer, vendors and employees relationships, customer satisfaction and loyalty and service value retention.
The indicators are to create and develop external relations, value added per customers, market value per employees, market share, brand loyalty, expected services, increasing distribution channel per year, decreasing customer complaints and percentage of goods returned.

3.Organizational capital contains four elements, namely production learning process, intellectual property (brands, trademark, softwares), product specification, and knowledge database.
The indicators are profits from new business, total asset values, increasing new products per year, R&D investment, cost per unit on target, cost per product development per year, cost of renewal development and towards industry quality standards.

4.Human resource capital contains five elements, namely technical skills, initiation and learning, increasing knowledge management, training and development as well as, employees benefits and welfare.
The indicators are total value per employee, cost of training per administration cost, general cost of training and development, cost of recruit and replacement, amount of training time, knowledge assessment, methods of compensation evaluation, performance appraisal and employee satisfaction index.

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants
Create Date : 21 สิงหาคม 2549

ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย (2) โดย ดนัย เทียนพุฒ

ก้าวที่สอง:ตกผลึกเป็นรูปแบบความคิดที่จะทำวิจัย!!!

ผู้เขียนเมื่อเริ่มที่จะจัดทำ โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) หรือโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ ได้กลับมา ทบทวนว่า
1.เราจะเริ่มต้นเขียนโครงร่างการวิจัยจากไหนดี
สิ่งที่ดีที่สุดที่ทำได้ก็โดยการศึกษา โครงร่างการวิจัยของนักศึกษาปริญญาเอกของหลักสูตรอื่นของ ม.ราชภัฏสวนดุสิต เช่น DPA แต่ก็ไม่ทั้งหมดเพราะช่วงที่มีในขณะนั้นเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ
ดังนั้นสิ่งที่ผู้เขียนคิดออกคือ
- กลับมาดูที่ชื่อเรื่องของผู้เขียนว่ามีอะไรเป็น Key Words สำคัญของโครงร่างดุษฎีนิพนธ์บ้าง เช่น “ตัวแบบ” (Model) “ยุทธศาสตร์” (Strategy) “ทุนทางปัญญา” (Intellectual Capital) และ “Case Study” หรือ “กรณีศึกษา”
- บทความที่ผู้เขียนเขียนไว้เป็น บทความประจำเทอม ซึ่งได้เขียนนำร่องไว้ก่อนและคิดว่าจะนำ มาใช้ในส่วน Literature Review ทั้งหมดนี้เป็นคุณูประการจากหลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต และผ.อ.หลักสูตรการจัดการธุรกิจ (ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ ) ที่ได้กำหนดไว้
- ค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับการวิจัยเชิงกรณีศึกษา (Case Study Research)ว่าเป็นอย่างไรบ้างโดยต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
ใน 3 ส่วนนี้ถ้าได้มีโอกาสปรึกษากับผู้ทรงคุณวุฒิและอาจารย์ที่ปรึกษา เราจะมีกรอบแนวคิดในการจัดทำโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ที่ดี

2.การวิจัยเรื่อง ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรบธุรกิจไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัท ผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง จำกัด จึงสรุปหน้าตาออกมาเป็น Proposal ดังต่อไปนี้


ก้าวที่สำคัญ:จะได้มาซึ่งกรอบความคิดในการวิจัยและวิธีดำเนินการวิจัย!!

ผู้เขียน (ผู้วิจัย) เชื่อว่าสิ่งที่เป็นความยากของนักศึกษาปริญญาเอกทุกคนคือ การทำอย่างไรให้ได้มาซึ่ง กรอบความคิดในการวิจัย (Research Framework) และวิธีดำเนินการวิจัย (Research Method) แต่สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นเรื่องง่ายๆ ขึ้นมาทันที ซึ่งผู้เขียนมีเคล็ดลับดังนี้
1. ต้องมีการทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) โดยครอบคลุมคำสำคัญ (Key Words) ตามชื่อเรื่องของดุษฎีนิพนธ์ที่เราจะทำการวิจัย
- การทบทวนวรรณกรรมนี้จะช่วยในการปรับปรุงคำถามในการวิจัยหรือความสนใจในการวิจัยให้คมชัดขึ้น
- จะทำให้เห็นแนวทางว่า กรอบความคิดในการวิจัย (Research Framework) ซึ่งจะมีทั้ง กรอบความคิดทางทฤษฎี (Theoritical Framework) และกรอบความคิดในการวิจัยทางปฏิบัติ (Conceptual Framework) ได้อย่างลงตัว
2. ผู้เขียนได้ทบทวนวรรณกรรมแล้วเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัยไว้เป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ
(1) กรอบแนวคิดในตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา (ตรงตามชื่อเรื่องที่เป็น Key Words เลยครับ) โดยการสังเคราะห์ให้ได้ว่า ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา ควรจะมีลักษณะเป็นอย่างไร เช่น
“สิ่งที่เป็นคุณลักษณะหลักสำหรับตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญา ควรประกอบด้วย ความเป็นระบบ (Systematic) ระบบเปิด (Open) พลวัต (Dynamic) ยืดหยุ่น (Flexible) การทำให้เหมาะได้ (Adaptive) และนวัตกรรม (Innovation) (Castro; Lopez; Muina and Saez, 2004)”
(2) กรอบแนวคิดในการวิจัยตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย
ในการทบทวนทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า
1) ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาที่เป็นตัวแบบที่เป็นหลักการทั่วไป (General Models) เป็นตัวแบบที่พัฒนาขึ้นในช่วงแรกและมักจะนิยมอ้างอิงถึงโดยเฉพาะ
ตัวแบบ “สแกนเดีย เนวิกเกเตอร์” ของเอ็ดวินส์สันและมาโลน (1997)
ผู้เขียนจึงใช้ตัวแบบ “สแกนเดีย เนวิเกเตอร์” เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย
2)การจัดประเภทของทุนทางปัญญาหรือองค์ประกอบของทุนทางปัญญา รูส์ (Roos, 1997) ได้พัฒนาระบบทุนทางปัญญาเพื่อให้สามารถจัดประเภทของทุนทางปัญญาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า “ตัวแบบกระบวนการ” (The Process Model)
ผู้เขียนจึงใช้แนวคิดการพัฒนาระบบทุนทางปัญญาตาม “ตัวแบบกระบวนการ”
1) องค์การส่วนใหญ่ที่สามารถกำหนดรูปแบบการริเริ่มจัดการทุนทางปัญญาได้จะมีสิ่งที่เป็นหัวใจหลักๆ ซึ่งเป็นตัวผลักดันการริเริ่มนี้คือ การจัดวางคุณค่าที่เหมาะสม (Bontis, 2002) และคุณค่าจะก่อรูปแบบเป็นวัฒนธรรมหลักขององค์การ (Hofstede, 2005)
ผู้เขียนจึงคำนึงถึงการพัฒนาตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัท ผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง จำกัด ในบริบทของวัฒนธรรมการบริหารแบบไทยด้วย

ดังนั้น กรอบแนวคิดในการวิจัยตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย จะเป็นดังรูป


ก้าวแห่งความสำเร็จ : วิจัยเป็นประดิษฐกรรมทางปัญญาสูงสุด !!!

ก่อนที่จะสอบโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation Proposal) ในวันที่ 16 ก.ย.2548 เวลา 13.00 น. ณ ศาลาชื่นอารมย์ ผู้เขียนได้ลองทบทวนว่า ทำอย่างจึงจะเสนอตามที่ได้มีการทบทวนวรรณกรรมมาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสู่ กรอบแนวคิดอย่างลงตัวใน PowerPoint เพียงหนึ่งหน้าแล้วเชื่อมโยงไปสู่วิธีดำเนินการวิจัย
เชื่อหรือไม่ครับ ผู้เขียนใช้เวลาอยู่ 3 วันจึงสรุปได้อย่างลงตัวเพราะพยายามนั่งคิดหาวิธีที่จะกำหนด
-ตรรกของความคิดตามหัวข้อวิจัยของผู้เขียน
-การหารูปแบบที่จะเกิดเป็น การสรุปรวมความคิดที่ไม่ซับซ้อนมากนัก แต่ทำให้ผู้ฟังคือ คณะกรรมการสอบฯ หรือผู้สนใจเข้าใจตามเรื่องราวที่เราอธิบายอยู่
-ผู้ทรงคุณวุฒิและอาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งได้ให้คำแนะนำจากที่ท่านได้อ่านโครงร่างดุษฎีนิพนธ์จะช่วยเติมแต่งให้องค์ความรู้ทางวิจัยและวิชาการด้านเนื้อหาที่ดียิ่ง

สุดท้ายครับ ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ จงเชื่อมั่นในตนเองและก้าวเดินไปสู่ความ-
สำเร็จ ”Dissertation Proposal” คือ เข็มทิศนำทางสู่ปริญญาการจัดการดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Management) ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่กำลังเตรียมทำหรือจะก้าวสู่บันไดขั้นนี้นะครับ!!


อ.ดนัย เทียนพุฒ
Aj.Danai Thieanphut
DNT Consultants

Create Date : 03 สิงหาคม 2549